รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 193 สิทธิ์ บุตรอินทร์ ๒.๑ ปรัชญา ๒ สายหลัก : จีนมีปรัชญาหลัก ๒ สำ �นักคือ ลัทธิเต๋าของเล่าจื๊อหรือเหลาจื่อ และมนุษยนิยมของขงจื๊อ ในสำ �นักปรัชญาเต๋า เล่าจื๊อถือเต๋าเป็นความจริงสูงสุด สิ่งมุ่งหวังสูงสุด และวิถีอันประเสริฐสุดของมนุษย์ เต๋าเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง คอยหล่อเลี้ยงสรรพสิ่งให้ดำ �รงชีวิต อยู่จนกว่าจะกลับคืนสู่เต๋าอีก มนุษย์เคยมีความสงบสุขตามวิถีสายกลางแห่งดุลยภาพระหว่างมนุษย์ กับธรรมชาติ แต่เพราะขาดปัญญาให้ต้องละเมิดวิถีเต๋า จึงเห็นผิดเป็นชอบ มุ่งแสวงหาแต่สิ่งสนอง กิเลสตัณหา หันหลังให้วิถีสายกลางแห่งความสมดุลของธรรมชาติสำ �หรับทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วสร้าง อารยธรรมและวัฒนธรรมไร้ดุลยภาพผิดเพี้ยนบิดเบี้ยวออกนอกวิถีสายกลางของเต๋า ผลคือทุกคน ล้วนมีความทุกข์ สังคมแตกแยกวุ่นวาย มีปัญหามากหลายให้ต้องแก้ไขไม่จบสิ้น การป้องกันและ แก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ก็แต่โดยดำ �เนินตามวิถีสายกลางแห่งเต๋าเท่านั้น เต๋าจึงเป็นวิถีแห่งความสมดุล ในสิ่งต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ และมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ขณะที่ปรัชญาเต๋าของเล่าจื๊อ ๑๖ เน้นเนื้อหาด้านภววิทยา จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ มี ลักษณะเด่นเป็นธรรมชาตินิยม และมัชฌิมนิยม ปรัชญาสายขงจื๊อ แม้อนุโลมบางระดับตามลัทธิเต๋า ในเรื่องหยินหยาง แต่เน้นเนื้อหาวิถีสายกลางด้านจริยศาสตร์ คุณวิทยา และตรรกศาสตร์ มีลักษณะ เด่นเป็นมนุษยนิยม สัมพัทธนิยม มัชฌิมนิยม และนิติธรรมนิยม มนุษย์โลกโยงถึงจักรวาลเกิดขึ้นและ เคลื่อนไหวเปลี่ยนไปในระบบวัฏจักร (Cyclic) ภายใต้กฎธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น มนุษย์มีดีมี เลวแต่เดิมมา เพราะวัฒนธรรมทางการศึกษาอบรมในสังคมนั้น ๆ ที่ครอบครัว สถานศึกษา และรัฐ ต้องรับผิดชอบร่วมกัน แต่เดิมดีอาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นเลวก็ได้ แต่เดิมเลวอาจปรับปรุงแก้ไขให้เป็น ดีได้ ไม่มีอะไรตายตัวและคงตัวแน่นอนเป็นนิรันดร เพื่อความสงบสุขความเจริญ ทุกอย่างต้องดำ �เนิน ตามวิถีสายกลาง ที่สอนความพอดีพอประมาณ ดุลยภาพ สมเหตุสมผล คุณธรรม มนุษยธรรม ใจ เขาใจเรา สามัคคีและกลมเกลียวเป็นน้ำ �หนึ่งใจเดียวกัน ปรัชญาทั้ง ๒ สายได้พัฒนาแนวคิด ความ เชื่อและแนวประพฤติปฏิบัติในวิชาเป็นมนุษย์-วิชาชีวิตกับวิชาชีพ ให้สอดคล้องกันเคียงคู่กันเป็นวิถี ชีวิตจีน ขงจื๊อกล่าวได้ใจความตอนหนึ่งว่า “เกิดมามีชีวิตเป็นแบบมนุษย์ได้ทั้งที ขอให้ได้ศึกษาเล่า เรียนสมอยาก ขอให้ได้ใช้วิชาที่เรียนมาประกอบสัมมาชีพ ขอให้พึ่งตนเองเป็นตัวของตัวเองได้ ขอให้ได้ บำ �เพ็ญตนเพื่อประโยชน์สุขแก่เพื่อนมนุษย์ ขอให้เพื่อนพ้องยอมรับให้เกียรติและเชื่อถือ ขอให้ฟ้าดิน และบรรพชนภูมิใจ ขอให้อนุชนระลึกถึงด้วยความชื่นชมบูชาและหมายถือเอาเป็นแบบอย่างได้บ้าง และขอดำ �รงตนจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตด้วยความสงบสุขสง่างาม” ๑๗ ๑๖ Fung Yu Tang : the Spirit of Chinese Philosophy , Green Wood Press Westport 1970, p. 142-151. ๑๗ Lin Yutang (Ed.) : The Wisdom of China , Jaico Publishing House, Bombay 1964, pp. 313-314.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=