รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 192 มัชฌิมนิยม ปรัชญาจีนที่ปรับแล้วให้เป็นของจีน ดังข้อแนะนำ �ของขงจื๊อใจความตอนหนึ่งว่า “...พึงสังวรให้จงดี เอาไว้เสมอ สิ่งเก่าใช่ว่าจะดีทั้งหมด และสิ่งใหม่ก็ใช่ว่าจะเลวทั้งหมด ผู้มีปรีชาญาณย่อมรู้จักเลือกเฟ้น คัดสรร กลั่นกรอง ด้วยเหตุผล ถือเอาแต่ส่วนดีมีคุณประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเก่าหรือสิ่งใหม่ ต่อเมื่อ ได้ทดลองชิมดูดีแล้ว ที่สำ �คัญยิ่งคือ ต้องรู้เขารู้เรา ใจเขาใจเรา...” ปรัชญาจีนทุกลัทธิและทุกสำ �นักถือ สูตรปรัชญารวมร่วมกัน บรรจุใน ๘ คำ �คือ ซิวกี้-อบรมฝึกฝนตนเอง อังนั้ง-ยังความสงบสุขให้ตนและ ผู้อื่น ไหลเลี่ย-ทำ �ภายในตนให้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ และวั่งอ๊วง-ทำ �ภายนอกตนให้เป็นกษัตริย์ นักปกครอง อารยะปรัชญาจีนมิได้หมายเอาเพียงความรู้ความฉลาดปราดเปรื่องระดับความคิดเห็น หรือระดับทฤษฎีเสนอท้าทายให้เกิดการวิเคราะห์ ครุ่นคิด ถกเถียงเอาแพ้เอาชนะกัน ตามหลักการ และวิธีการตรรกภาษาหรือวาทกรรมดังเช่นนิยมกันแบบตะวันตกยุคแรก ๆ แต่ปรัชญาจีนหมาย ถึง วิชาชีวิตมนุษย์ อันเป็นองค์รวมแห่งความรู้สึกนึกคิดจิตใจ สติปัญญา ความฉลาดความเชื่อ และ แนวทางประพฤติปฏิบัติผ่านกระบวนการสะสม รวบรวมประสบการณ์ นำ �มาครุ่นคิด ไตร่ตรอง กลั่น กรอง เป็นองค์ความรู้คู่คุณธรรมโดยผู้เปี่ยมด้วยประสบการณ์ รู้จักโลกมานานผ่านประสบการณ์ชีวิต มามาก ๑๕ ๑. เป็นสัมฤทธิผลการตรวจสอบ วิเคราะห์ ไตร่ตรอง และประมวลประสบการณ์ตามเหตุ ตามผล รองรับโดยคุณค่าทางคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยธรรม ๒. เป็นพลังรักษาความดีเดิม ขัดเกลา และละเว้นความชั่วเก่า ปลูกฝัง หล่อหลอม เลี้ยงดู และเพิ่มพูนความดีใหม่ ๓. ประกันความจริง ความถูกต้องดีงาม ประโยชน์สุข และปฏิบัติได้ผลในชีวิตนี้ ชาตินี้ และ สังคมนี้ของมนุษย์ ๔. เป็นวิถีสายกลางหรือทางสายกลาง เน้นด้านภววิทยา จริยศาสตร์ คุณวิทยา ตรรกศาสตร์ และ สุนทรียศาสตร์ ดังนั้น ปรัชญาจีนจึงมิใช่เรื่องการคาดคิด คาดการณ์ และเก็งความจริงบนสมมติฐานและ มิใช่สิ่งมุ่งหมายของชีวิต แต่เป็นมรรควิถีสายกลางนำ �พามนุษย์สู่สิ่งมุ่งหมายระดับต่าง ๆ ของชีวิต นักปรัชญาจีนไม่นิยมแสวงหาความรู้เพียงเพื่อความรู้ แต่องค์ความรู้ความฉลาดนั้น จะต้องนำ �มาซึ่ง ประโยชน์สุข ความจริง ความถูกต้อง และคุณงามความดีแก่ชีวิตปัจจุบันนี้ได้ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ และทุกชีวิตในโลก อนึ่ง ชีวิตนี้หมายถึงชีวิตมนุษย์ผู้กำ �หนดและรับผิดชอบชะตาชีวิตของมนุษย์เอง ๑๕ Lin Yutang (Ed.) : The Wisdom of China , Jaicob Publishing House, Bombay 1964, pp. 13-18 และ Nakamura,H. : Ways of Thinking of Eastern Peoples , The University of Hawaii 1974, pp. 22-38.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=