รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 191 สิทธิ์ บุตรอินทร์ กลุ่มที่ ๓ สาธารณรัฐมีรัฐธรรมนูญ มี ๒ แบบ แบบดีจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อประชาชนพลเมืองมีการ ศึกษาดี มีคุณธรรมจริยธรรมและเหตุผล เคารพระเบียบกฎหมาย มีความสามารถด้านต่าง ๆ ไม่มีอภิ สิทธิชนสำ �คัญตนเหนือคนอื่น ๆ ประชาชนมีเจตจำ �นงอิสระเสรีในการร่วมกันกำ �หนดรัฐบาล วิถีสังคม การเมืองและการเศรษฐกิจ แบบเลวเป็นระบอบปกครองบริหารโดยคนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมก็จริง แต่ ด้อยการศึกษา หย่อนสมรรถภาพ ปัญญาทราม คุณธรรมต่ำ � และอ่อนแอไม่เป็นตัวของตัวเอง พึ่งพา ตนเองไม่ได้ อาริสโตเติลจึงได้เสนอแนะมัชฌิมนิยม-อารยวิถีทางสังคมและการเมือง สรุปได้ความว่า ๑๔ สำ �หรับมนุษย์ไม่มีสังคมและรัฐในระบอบใดดีที่สุด มีได้ก็แต่ดีกว่าที่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางมนุษย์ กับสภาพแวดล้อม สำ �คัญและจำ �เป็นเหนืออื่นใด คือ คุณภาพประชาชนพลเมือง ผ่านการศึกษา อบรมอันเป็นภาระหน้าที่ในความรับผิดชอบแท้ ๆ ของรัฐ การจินตนาการหารัฐในอุดมคติหรืออุดม รัฐเป็นเรื่องไร้ประโยชน์และเป็นไปไม่ได้ มนุษย์ควรมาใส่ใจสร้างสังคมและรัฐที่ทำ �ให้เป็นจริงขึ้น มาได้ตามเหตุตามผลแห่งความพอดีพอประมาณ โดยปัญญา คุณธรรม ความสามารถ ศักยภาพ และความพยายามตามเจตจำ �นงเสรีของมนุษย์เท่านั้น ในรัฐที่ดีกว่าคือสาธารณรัฐมีรัฐธรรมนูญ (Constitutional Republic) ในกรอบกฎหมายภายใต้คุณธรรมจริยธรรมและเหตุผล ดำ �เนินกิจกรรม แนวอารยวิถี ๒. มัชฌิมนิยมจีน มรดกล้ำ �ค่าทางปัญญาของจีนได้ปลูกฝัง กำ �หนด และนำ �พาความรู้สึกนึกคิด จิตใจ โลก- ทัศน์ ชีวทัศน์ และความเชื่อ หลอมรวมเข้าเป็นวิถีชีวิตแบบจีนมานานประมาณ ๔,๐๐๐ ปี แต่อดีต จนปัจจุบัน สืบเนื่องเป็นหนึ่งเดียวกันแห่งความเป็นจีนในวิถีชีวิตแบบจีนที่ไม่เคยถูกอารยธรรม วัฒนธรรมอื่นใดครอบงำ �และดูดกลืนจนสิ้นสลาย แม้ในพุทธศตวรรษที่ ๕ พุทธปรัชญาจากอินเดียเข้า มามีอิทธิพลไม่น้อยกว่าปรัชญาของจีน และต่อมายุคใหม่ภายใต้อิทธิพลปรัชญาตะวันตก ได้แก่ ลัทธิ มากซ์ ลัทธิเหมา และปรัชญาวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ๓ ระบบหลังนี้ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบ้างในวิถี ชีวิตจีน ส่วนใหญ่เป็นเพียงด้านวัฒนธรรมวัตถุธรรม แต่จีนได้ประยุกต์เอาปรัชญาเหล่านั้นมาคัดสรร กลั่นกรอง และผสมผสานให้กลมกลืนกับปรัชญาของตน หลอมรวมให้กลายเป็นปรัชญาจีนและเพื่อ จีน วิถีชีวิตจีนโดยปรัชญามัชฌิมนิยมของจีนก็ยังคงความเป็นจีนอยู่อย่างนั้นไม่เคยเป็นอื่นจนสูญสิ้น ปรัชญาเมธีจีนสอนให้ฉลาดรับ เลือก วิเคราะห์และสังเคราะห์ ก่อนถือเอาปรัชญาอื่นเข้ามาผสมกับ ๑๔ Jowett, B. (Trans) : Aristotle’s Politics, op.cit ., pp. 26-29.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=