รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 190 มัชฌิมนิยม ๑.๓ มัชฌิมนิยมทางสังคมและการเมือง : แม้มนุษย์ดำ �เนินวิถีชีวิตตามมิติปัจเจกบุคคล ประกอบกิจกรรมทั้ง ๓ ลักษณะดังกล่าว อาริสโตเติลยังเห็นว่าอีกมิติหนึ่ง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และการเมือง (Social and Political Animal) ๑๒ แต่ละบุคคลมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความหมายและ คุณค่าก็ด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่รวมและร่วมกันในสังคมโดยสถานภาพและภาระหน้าที่ ต่าง ๆ ความสัมพันธ์และความรู้ความสามารถของมนุษย์จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อได้ปรากฏผลดีออกมา ให้เกิดคุณประโยชน์แก่สังคม หากเพื่อตัวคนเดียว ถึงมนุษย์จะมีความรู้ความสามารถเฉพาะตัวเพียง ใดก็ไร้คุณค่า เพราะไม่ใช่ให้เกิดคุณประโยชน์สาธารณะแก่เพื่อนมนุษย์ สิ่งที่ดีมีคุณประโยชน์สำ �หรับ ปัจเจกบุคคลกับสังคม ย่อมเป็นเหตุเป็นผลอิงอาศัยกันและกัน เกิดขึ้นและดำ �เนินไป โดยปราศจาก ข้อยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น การมีชีวิตแนววิถีอารยะ จึงเป็นการมีชีวิตปัจเจกบุคคลร่วมกับมนุษย์ อื่นในสังคมแต่เกิดจนตาย มีมิตรภาพที่ดีที่เหมาะสมระหว่างกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และคุณประโยชน์ ร่วมกัน มีสำ �นึกที่ดีต่อกัน มีความเข้มแข็งทางจริยธรรม เข้าใจและเข้าถึงสิ่งดีงามสำ �หรับตนเองและ เพื่อนมนุษย์ ร่วมกันพัฒนาปัญญาเพื่อนำ �พาสู่ความจริง ความถูกต้อง และความดีงาม ดำ �รงตนอยู่ใน สังคมด้วยจิตสำ �นึกอันแน่วแน่ มั่นคง สม่ำ �เสมอ และพอเหมาะพอควรที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ พัฒนาชีวิตและสังคม ให้บรรลุความดีสูงสุดแห่งชีวิตที่ถึงพร้อมด้วยความรู้อันเป็นเลิศและประเสริฐ ทางพฤติกรรม สมกับที่เกิดมาเป็นมนุษย์ในฐานะเป็นสัตว์สังคมและการเมืองแนวอารยวิถี ครั้นไม่เห็นด้วยกับทรรศนะทางสังคมและการเมืองบางมิติของเพลโต อาริสโตเติล ๑๓ จึง เสนออารยวิถีดังกล่าวข้างต้นในมิติปรัชญาประยุกต์ให้เป็นรูปแบบ ระบบ และเนื้อหาของสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยวิเคราะห์วิถีสังคมของรัฐออกเป็น ๓ กลุ่ม ๖ แบบ กลุ่มที่ ๑ อภิชนานิยม ราชาธิปไตย มี ๒ แบบ แบบดีคือระบอบปกครองบริหารโดยคน ๆ เดียว เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ พิเศษคือ ความเป็นปราชญ์ เรียกว่า ราชาปราชญ์ ยังความชอบธรรมและสันติสุขให้แก่ประชาชน พลเมือง และแบบเลวคือระบบปกครองบริหารโดยคน ๆ เดียว ทรงไว้ซึ่งอำ �นาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอัน ผู้ใดแตะต้องมิได้ ทั้งยังมีปัญญาและคุณธรรมทราม ไร้ความสามารถ ใฝ่ใช้อำ �นาจนิยม ถือเป็นการ ปกครองที่เลว เรียกอีกอย่างว่า ราชาธิปไตยทรราช กลุ่มที่ ๒ อภิชนานิยมคณาธิปไตย มี ๒ แบบ แบบดีคือการปกครองบริหารโดยคณะอภิชนผู้มีปัญญาและคุณธรรม และแบบเลวคือการปกครอง บริหารโดยกลุ่มอภิชนที่ใช้ความมั่งคั่งร่ำ �รวยและกำ �ลังพล เป็นทั้งอำ �นาจและเป้าหมายของอำ �นาจ ๑๒ Jaeger, W. : Aristotle, op. cit ., p. 351-362. ๑๓ ศึกษาความพิสดารใน Jowett, B. (Trans) : Aristotle’s Politics, Modern Library Edition 1943, pp. 216-217 ; Cornford, F.M. (Trans) : The Public of Plato, Oxford University Press 1941, pp. 209-214.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=