รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 170 กระแสความคิดจริยศาสตร์สุขภาพในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ใน ค.ศ. ๑๙๗๖ ๗ เกิดกรณีผู้ป่วยชื่อ คาเรน แอนน์ ควินแลน (Karen Ann Quinlan) ใน รัฐนิวเจอร์ซี ซึ่งมีอาการโคม่าถาวรอยู่ในสภาพของพืชผัก (vegetative state) ตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๗๕ บิดามารดาของคาเรนเป็นคริสต์ศาสนิกชนคาทอลิกที่ศรัทธาได้ปรึกษากับฝ่ายศาสนจักร (บาทหลวงบิชอฟ) ในที่สุดมีความเห็นว่าควรนบนอบต่อพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า การใช้เครื่อง ช่วยหายใจเหนื่ยวรั้งเธอไว้ถือเป็นวิธีการที่ไม่ปรกติ (extraordinary mean) จึงขอร้องให้แพทย์ถอด เครื่องช่วยหายใจออก แต่ฝ่ายแพทย์ปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าการถอดเครื่องช่วยหายใจจะทำ �ให้คาเรน เสียชีวิตเป็นการกระทำ �ที่ฆ่าชีวิตผู้อื่น บิดามารดาของคาเรนนำ �เรื่องเข้าสู่กระบวนการศาล ศาลขั้น ต้นของรัฐนิวเจอร์ซีพิพากษาให้คงเครื่องช่วยหายใจไว้ บิดามารดาคาเรนยื่นอุทธรณ์ศาล อุทธรณ์ พิพากษากลับคำ �พิพากษาของศาลขั้นต้น โดยยอมให้แพทย์ถอดเครื่องช่วยหายใจได้ก็ต่อเมื่อคณะ แพทย์มีข้อมูลหลักฐานทางวิชาการและแน่ใจว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถคืนสู่สภาพของการหายใจได้ ด้วยตัวเอง การวินิจฉัยดังกล่าวจะต้องผ่านการรับรองของคณะกรรมการจริยธรรมหรืออีซี (Ethics Committee _ EC) ของโรงพยาบาลซึ่งประกอบด้วยสหบุคลากรหลายวิชาชีพได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกฎหมาย นักจริยศาสตร์ นักสังคมสงเคราะห์ สาธุคุณ/บาทหลวง รวมทั้งผู้บริหารโรงพยาบาล บิดามารดาของคาเรนยังคงขอร้องแพทย์ให้ถอดเครื่องช่วยหายใจ แต่ฝ่ายแพทย์ยังคงปฏิเสธตาม ที่คำ �พิพากษาให้โอกาส อีก ๖ สัปดาห์ต่อมาหลังคำ �พิพากษา แพทย์คนหนึ่งของทีมรักษาพยาบาล ได้ตัดสินใจลองถอดเครื่องช่วยหายใจเพื่อให้คาเรนหายใจด้วยตนเอง ซึ่งได้เคยลองทำ �มาแล้วหลาย ครั้งแต่ไม่สำ �เร็จ ผลปรากฏว่าการลองครั้งหลังนี้เป็นที่ประหลาดใจแก่ทีมรักษาพยาบาลเพราะคาเรน หายใจได้ด้วยตนเอง ในที่สุดวันที่ ๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๗๖ คณะแพทย์ได้ย้ายคาเรนออกจากหอ อภิบาลผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลไปอยู่ยังสถานดูแลผู้ป่วย (nursing home) ได้รับการดูแลรักษา ตามอาการอย่างดีทุกขั้นตอน การให้ยา ให้อาหารทางสายยาง การดูแลแผลกดทับ การได้รับการ เยี่ยมเยียนจากบิดามารดา คาเรนมีชีวิตอยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัวเช่นนี้ ต่อมาอีก ๑๐ ปี ๒ เดือน เสียชีวิต ลงเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๘๕ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเฉลี่ยวันละ ๑๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ และยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการต้องให้มีตำ �รวจเฝ้าระวังตลอดเวลาเนื่องจากฝ่ายสถานพยาบาล เกรงว่าจะมีผู้มาแอบถอดสายยางที่ให้ยาและอาหาร ขณะที่ฝ่ายบิดามารดาเกรงว่าจะมีผู้มาแอบ ถ่ายภาพของเธอซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่กองทุนสวัสดิการเป็น ๗ Fulton, Gere B., Metress K. Eileen., Perspiclives on Death and Dying . (Boston: Jones and Bartlett Publishers, 1995) pp. 72-77.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=