รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 168 กระแสความคิดจริยศาสตร์สุขภาพในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ กระแสความคิดจริยศาสตร์สุขภาพ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ๑ ๑ บรรยายในการประชุมสำ �นักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน วันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ๒ ภาคีสมาชิก สำ �นักธรรมศาสตร์และการเมือง ๓ Edge, Raymond S., Grove, John Randall., Ethics of Health Care: A Guide for Clinical Practice. 2 nd. ed. (Albany: Delmar Publishers, 1999) pp. 1-2. สิวลี ศิริไล ๒ บทคัดย่อ คำ �ว่าจริยศาสตร์สุขภาพเกิดขึ้นในช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ เป็นผลมาจาก ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้านหนึ่งความเจริญก้าวหน้า ดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลแก่สุขภาพและชีวิตมนุษย์ ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหา จริยธรรมที่เป็นสถานการณ์ขัดแย้งระหว่างหลักจริยธรรมหลายประการ นักปรัชญาตะวันตกทบทวน ทฤษฎีจริยศาสตร์หรือจริยศาสตร์เชิงกฎเกณฑ์ซึ่งเป็นหลักการและมาตรฐานของการตัดสินทาง จริยธรรมว่าสามารถนำ �มาใช้ช่วยในการเผชิญประเด็นจริยธรรมที่ยากลำ �บากในการตัดสินใจใน ระบบบริการสุขภาพซึ่งเป็นลักษณะของจริยศาสตร์ประยุกต์หรือจริยศาสตร์เชิงปฏิบัติที่ใช้กันทั่วไป ในปัจจุบัน คำ �สำ �คัญ : จริยศาสตร์, จริยศาสตร์สุขภาพ, ปัญหาจริยธรรม คำ �ว่า “จริยศาสตร์สุขภาพ” (health care ethics) เกิดขึ้นและเป็นที่รู้จักในช่วงหลังของ คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ช่วงระยะเวลาดังกล่าว ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางการแพทย์ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากในวงการสุขภาพทั้งในด้านของประโยชน์ที่ เกิดแก่สุขภาพและชีวิตมนุษย์และในด้านของประเด็นคำ �ถามทางจริยธรรม(ethical issues)หลาย ประการที่เกิดขึ้นตามมา ๓
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=