รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 165 มนัส สุวรรณ นี้ คือตัวการสำ �คัญในการอนุรักษ์คุณค่าและความสำ �คัญดังกล่าวข้างต้นให้คงอยู่คู่กับดอยอินทนนท์ ตราบใดที่ยังมีพืชและมีสัตว์หลากหลายสายพันธุ์และหลากหลายชนิดปรากฏอยู่บนดอยอินทนนท์ ตราบนั้น ความสมดุลและความยั่งยืนตามธรรมชาติของดอยอินทนนท์ก็จะยังปรากฏอยู่ต่อไปเช่น กัน ในทางกลับกัน หากความหลากหลายทางชีวภาพบนดอยอินทนนท์ถูกทำ �ลายให้เสื่อมโทรมลง เมื่อนั้นคุณค่าและความสำ �คัญทั้งมวลของดอยอินทนนท์ย่อมสิ้นสลายตามไปด้วย ในบรรดาทรัพยากรที่มีคุณประโยชน์ต่อการดำ �รงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ � อากาศ ป่าไม้ หรือแร่ธาตุ ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพถูกจัดว่าเป็นทรัพยากรที่มีความเปราะบาง มากที่สุดต่อการถูกทำ �ลาย ที่สำ �คัญที่ต้องตระหนักมากไปกว่านี้คือ การสูญเสียความหลากหลายทาง ชีวภาพมิใช่เฉพาะทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเท่านั้นที่ถูกทำ �ลาย แต่จะมีทรัพยากรอื่น เช่น ดิน น้ำ � ป่าไม้ รวมตลอดจนลักษณะทางกายภาพ เช่น ปริมาณน้ำ � (ในฐานะแหล่งต้นน้ำ �ลำ �ธาร) อุณหภูมิ ความชื้นของอากาศ จะพลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย สถานการณ์การใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพบนดอยอินทนนท์ของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อ การก่อสร้าง การท่องเที่ยว และ/หรือ การบุกรุกทำ �ลายพื้นที่ป่า เมื่อผนวกเข้ากับความเปราะบาง ของระบบนิเวศต่าง ๆ ด้วยแล้ว ทำ �ให้มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเกิดการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพขึ้นกับดอยอินทนนท์ ทางหนึ่งที่จะช่วยป้องกัน และ/หรือ บรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธรรมชาติและความ หลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์จากกิจกรรมของมนุษย์คือ การจัดการที่ตัวมนุษย์ในฐานะ ต้นเหตุที่สำ �คัญของปัญหา หลักการโดยสาระคือจะทำ �อย่างไรเพื่อให้คนเกิดความรู้ความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้ในธรรมชาติและความสำ �คัญเชิงนิเวศวิทยาของดอยอินทนนท์ เมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจ อย่างลึกซึ้งแล้ว ทำ �อย่างไรจึงจะให้คนเหล่านี้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบ มีความรัก ความผูกพัน และ ความหวงแหนต่อทรัพยากรที่จะถูกทำ �ลาย ถ้าสามารถทำ �สิ่งดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้แล้ว ความรู้สึก อยากจะมีส่วนร่วมในการปกป้องดูแลและการอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรดังกล่าวจะเกิดตามมา สิ่งที่ ควรแก่การขบคิดสำ �หรับพวกเราทั้งหลายคือ จะช่วยกันอย่างไรเพื่อทำ �ให้คนรู้ เข้าใจ และสำ �นึกได้ ว่า… “ไม่มีมนุษย์ ธรรมชาติอยู่ได้ แต่ถ้าไม่มีธรรมชาติ มนุษย์อยู่ไม่ได้”.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=