รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 164 ดอยอินทนนท์ : ความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (๒) สร้างจิตสำ �นึกที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity conscience) ในประเด็นนี้เน้นการสร้างความรู้สึกผูกพัน ความหวงแหน และความวิตกห่วงใยต่อ การถูกทำ �ลายของความหลากหลายทางชีวภาพ (๓) สร้างทักษะและความรู้สึกมีส่วนร่วมรับผิดชอบ (sk i l l s and sense of participation) ในประเด็นนี้เน้นการสร้างเสริมทักษะในการแก้ไขและ/หรือบรรเทาผลกระทบ จากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยพยายามเชื่อมโยงความตระหนักตามข้อที่ (๑) และจิตสำ �นึกรับผิดชอบตามข้อที่ (๒) ด้วยความคิดและความเชื่อที่ว่าเมื่อคนมีความรู้ความเข้าใจใน ธรรมชาติและความสำ �คัญของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างลึกซึ้งแล้ว ความผูกพัน หวงแหน และวิตกห่วงใย จะทำ �ให้คนมีความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมในการปกป้องดูแล หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ การสร้างเสริมทักษะและความสามารถในการอนุรักษ์ให้กับพวกเขาเหล่านี้ หลักการดำ �เนินการ การดำ �เนินการให้ประสบความสำ �เร็จตามเป้าประสงค์ทั้ง ๓ ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น กระบวนการสิ่งแวดล้อมเสนอให้ปฏิบัติตามลำ �ดับขั้นตอนที่สำ �คัญ ๓ ขั้นตอน ดังนี้ (๑) ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (study ABOUT the environment) โดย เน้นการสร้างความเข้าใจอย่างเป็นระบบในเรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่นิยาม ธรรมชาติ ความสำ �คัญ และผลกระทบที่อาจมีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (๒) สนับสนุนให้มีการศึกษาในสิ่งแวดล้อมจริง (study IN the environment) โดยการ สร้างเสริมความเข้าใจจากภาคทฤษฎีที่ศึกษามาตามขั้นตอนที่ (๑) เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง จากห้องเรียนธรรมชาติหรือจากพื้นที่จริง (๓) มุ่งเน้นเป้าหมายสำ �คัญคือสิ่งแวดล้อม (study FOR the environment) โดยการ สร้างเสริมทักษะและความรู้สึกรับผิดชอบในการปกป้องดูแลความหลากหลายทางชีวภาพมิให้ถูก ทำ �ลายจากปัจจัยทั้งมวล บทสรุป ดอยอินทนนท์เป็นดอยที่มียอดสูงสุดในประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาและ ที่สูง มีคุณค่าและความสำ �คัญหลายประการต่อจังหวัดเชียงใหม่เป็นการเฉพาะและต่อประเทศโดย ภาพรวม คุณค่าและความสำ �คัญที่หลากหลายทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ การศึกษา นันทนาการ และ ประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม รวมตลอดจนความเป็นหน้าเป็นตาของประเทศในฐานะจุดหมายปลายทาง ของการท่องเที่ยวทางธรรมชาติซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ล้วนถูกสนับสนุนด้วยความหลากหลาย ทางชีวภาพของดอยอินทนนท์เองทั้งสิ้น ด้วยสภาพของดอยที่อุดมไปด้วยพืชและสัตว์นานาพรรณ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=