รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 163 มนัส สุวรรณ การนำ �พืชและสัตว์ต่างถิ่นเข้าไปในพื้นที่ และการนำ �พืชและสัตว์พื้นถิ่นออกจากพื้นที่ แม้จะยังไม่ปรากฏอย่างเด่นชัดว่ามีการนำ �พืชและสัตว์เข้าไปหรือออกจากพื้นที่ดอยอินทนนท์ หรือไม่และอย่างไร แต่กิจกรรมลักษณะนี้มีความท้าทายสูงต่อการสูญเสียความหลากหลายทาง ชีวภาพของดอยอินทนนท์ ด้วยความเป็นระบบนิเวศแบบป่าไม้ที่มีอายุยาวนาน ทำ �ให้พืชและสัตว์ บนดอยอินทนนท์คุ้นเคยและเคยชินกับสภาพแวดล้อมแล้วทุกลักษณะ ไม่ต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด ไม่จำ �เป็นต้องอาศัยความสามารถในการปรับตัวและการแข่งขันใด ๆ การนำ �พืชและ/หรือสัตว์ต่าง ถิ่นซึ่งโดยธรรมชาติจะมีความสามารถในการแข่งขันเพื่อการอยู่รอดสูงกว่าพืชและสัตว์พื้นถิ่น อาจ ทำ �ให้เกิดการลดจำ �นวนหรืออาจถึงขั้นสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์พื้นถิ่นได้จากการพ่ายแพ้คู่แข่งขัน จากภายนอก การนำ �พืชและ/หรือสัตว์พื้นถิ่นออกจากพื้นที่ดอยอินทนนท์ก็อาจมีส่วนทำ �ลายสมดุลทาง ธรรมชาติของระบบนิเวศของดอยได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าพืชนั้นหรือสัตว์นั้นเป็นผู้ทำ � หน้าที่หลักในระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต (producer) ผู้บริโภค (consumer) หรือตัวย่อยสลาย (decomposer) ก็ตาม แนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์ : บทวิเคราะห์ ด้วยพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ของผู้เขียน ผนวกเข้ากับสาระที่ได้จากการศึกษา ทบทวนดังที่กล่าวแล้วก่อนหน้านี้ ทำ �ให้สามารถวิเคราะห์เชิงอุปมานได้ว่า อาจมีหลายแนวทาง ที่สามารถช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์ อย่างไรก็ตาม แนวทางที่น่าจะดีที่สุดและเกิดประสิทธิผลมากที่สุดคือ การจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาคือ มนุษย์ เมื่อความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์มีแนวโน้มว่าจะ เกิดจากการกระทำ �ของมนุษย์เป็นหลัก การแก้ไขจึงควรเน้นที่การจัดการมนุษย์เป็นหลักเช่นเดียวกัน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพด้วยวิธีการจัดการที่ต้นเหตุคือตัวมนุษย์ สามารถ ดำ �เนินการได้โดยอาศัยหลักการของกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ และหลักการดำ �เนินการดังนี้ วัตถุประสงค์ กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษามีเป้าประสงค์ที่สำ �คัญ ๓ ประการ คือ (๑) สร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม (environmental awareness) ในประเด็นนี้ เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้และซาบซึ้งในธรรมชาติและความสำ �คัญของความหลาก หลายทางชีวภาพ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=