รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 161 มนัส สุวรรณ ๒. เหตุปัจจัยที่มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้อง ความหลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์มีความล่อแหลมและเปราะบางมากจากการ ถูกทำ �ลายจากกิจกรรมของมนุษย์ หลายคนยังมีความคิดและความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ หลายคนคิดและเข้าใจว่าพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เช่นดอยอินทนนท์ คงมีโอกาสถูก ทำ �ลายให้เสียความเป็นระบบนิเวศได้น้อยมาก ความจริงตามหลักนิเวศวิทยาและศาสตร์ทาง สิ่งแวดล้อมคือ พื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สามารถถูกทำ �ลายให้เสียสมดุลและสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพได้เช่นกันแม้จะไม่ง่ายนัก ทั้งนี้ หากองค์ประกอบเชิงนิเวศวิทยาของระบบ นิเวศ ซึ่งหมายถึงองค์ประกอบทางชีววิทยา ได้แก่ พืชและสัตว์ องค์ประกอบทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และองค์ประกอบทางเคมี เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ถูกทำ �ให้ เปลี่ยนไป การตัดต้นไม้ในป่าใหญ่เพียงต้นเดียวสามารถทำ �ให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศของ ผืนป่านั้นได้ ถ้าต้นไม้ต้นนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของสารพันแมลงและนกที่ทำ �หน้าที่ทั้งในฐานะผู้บริโภค และผู้ช่วยในการขยายพันธุ์พืช กิจกรรมของมนุษย์หลาย ๆ อย่างในพื้นที่ดอยอินทนนท์มีโอกาสและ มีความท้าทายต่อการเกิดเหตุการณ์ดังที่กล่าว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจง่าย ขึ้น เหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์ที่มนุษย์มี ส่วนเข้าไปเกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และอธิบายโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้ การบุกรุกทำ �ลายพื้นที่ป่าไม้ ในพื้นที่ดอยอินทนนท์ยังมีการตั้งถิ่นฐานของชาวไทยภูเขาอยู่ หลายบริเวณ ชาวไทยภูเขาเหล่านี้ดำ �รงชีวิตด้วยการทำ �ไร่เลื่อนลอยในลักษณะของการตัดแล้วเผา (slash & burn) และการเก็บของป่าและล่าสัตว์ การที่ต้องตัดต้นไม้แล้วเผาเพื่อนำ �พื้นที่มาใช้เพื่อการ เพาะปลูก มิใช่มีผลโดยตรงต่อการทำ �ลายพืชและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิดเท่านั้น แต่ยังก่อให้ เกิดการทำ �ลายระบบนิเวศอย่างรุนแรงจากการเกิดไฟไหม้ป่า และมลภาวะทางอากาศ กิจกรรมการเพาะปลูก เมื่อได้พื้นที่จากการตัดต้นไม้และเผาแล้ว ชาวไทยภูเขาจะใช้พื้นที่ ส่วนใหญ่ปลูกพืชไร่เป็นพืชหลักเพื่อการบริโภค โดยมีการปลูกผัก ไม้ดอก และผลไม้เมืองหนาว เพื่อขาย ด้วยกายภาพของพื้นที่ที่เป็นภูเขาและมีความลาดชันค่อนข้างมาก ธาตุอาหารในดินโดย ธรรมชาติจึงมีน้อย การใช้สารเคมีทั้งในรูปของปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชในการเพาะปลูกของชาวไทย ภูเขาบนดอยจึงเป็นไปอย่างเข้มข้นและกว้างขวางเพื่อให้ได้ผลผลิตมาก และดูสวยงาม การใช้สารเคมี จากกิจกรรมการเพาะปลูกดังกล่าวคือ ความท้าทายอีกอย่างหนึ่งต่อการสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพของดอยอินทนนท์ การใช้ที่ดินผิดประเภท การใช้ที่ดินผิดประเภท หมายถึง การนำ �ที่ดินที่เหมาะสมเพื่อการ ใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่มีความเหมาะสมกับกายภาพของพื้นที่ เช่น การนำ �

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=