รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 160 ดอยอินทนนท์ : ความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ประเด็นที่ควรแก่การพิจารณา ณ จุดนี้ คือ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิด จากเหตุปัจจัยทางธรรมชาติไม่น่าวิตกเท่ากับการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการกระทำ �ของมนุษย์ การสูญ เสียที่เกิดจากเหตุปัจจัยทางธรรมชาติ แม้จะมีความรุนแรงมากเพียงไรก็ตาม ไม่ช้าไม่นานก็กลับฟื้น คืนสภาพได้เอง ตรงกันข้าม หากการสูญเสียนั้นเกิดจากน้ำ �มือของมนุษย์ โอกาสกลับฟื้นคืนสภาพ สู่ความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมอาจใช้เวลานาน บางกรณีอาจเป็นการทำ �ลายให้เกิดการสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพโดยสิ้นเชิงก็เป็นได้ ความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพกรณีของดอยอินทนนท์ พิจารณาจากปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพดังที่กล่าวแล้วข้าง ต้น ทำ �ให้สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงเข้ากับบริบทด้านกายภาพ ชีวภาพ สังคมและเศรษฐกิจ ของดอย อินทนนท์ที่เป็นอยู่ และสามารถสรุปเชิงอุปมานได้ว่า มีหลายเหตุปัจจัยที่ท้าทายต่อการสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์เอง เหตุปัจจัยดังกล่าวสามารถอธิบายชี้แจงโดยสังเขปได้ ดังนี้ ๑. เหตุปัจจัยทางธรรมชาติ ด้วยตำ �แหน่งที่ตั้งของดอยอินทนนท์ที่อยู่ในทิวเขาถนนธงชัยตะวันออก มีทิวเขาแดนลาว คลุมอยู่ด้านทิศเหนือ ทิวเขาถนนธงชัยตะวันตกอยู่ด้านตะวันตก และด้านตะวันออกเป็นทิวเขา ผีปันน้ำ � ทำ �ให้ความหลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบ จากพิบัติภัยธรรมชาติในรูปของอุทกภัยและวาตภัยน้อยมาก อีกทั้งบริเวณที่ตั้งของดอยอินทนนท์ก็ ไม่ปรากฏว่ามีรอยเลื่อนของเปลือกโลก (fault) ที่จะทำ �ให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ด้วยเหตุดัง กล่าว ความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของดอยอินทนนท์จากปัจจัยทาง ธรรมชาติจึงมีเพียงปัจจัยเดียวที่น่าวิตกมากที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแม้แต่มนุษย์ ล้วนมีขีดจำ �กัดความอดทนต่อการ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม (tolerance limits) อยู่ต้นละ ตัวละ หรือคนละ ๒ ระดับ คือ ระดับ สูงสุด (upper limit) และระดับต่ำ �สุด (lower limit) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มสูง ขึ้นหรือลดต่ำ �ลงจนเกินหรือต่ำ �กว่าขีดความอดทนดังกล่าว สามารถส่งผลให้พืช สัตว์ และ/หรือมนุษย์ ตายได้ ทั้งนี้สามารถยืนยันได้จากประสบการณ์ตรง ณ บริเวณยอดดอยอินทนนท์ของผู้เขียนที่พบว่า มีพืชหลายชนิด เช่น ข้าวตอกฤๅษี มอส กล้วยไม้ป่า เหี่ยวเฉา และลดจำ �นวนลงเนื่องจากสภาพอากาศ ที่เปลี่ยนแปลงไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=