รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 158 ดอยอินทนนท์ : ความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ในจำ �นวนทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายชนิด แต่ละคนอาจมองเห็นประโยชน์และความ สำ �คัญของแต่ละชนิดแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และภูมิหลังของพวกเขาเหล่านั้น คนบางกลุ่ม เห็นว่าทรัพยากรเชื้อเพลิงมีประโยชน์และมีความสำ �คัญมากที่สุด ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งอาจมองว่า ทรัพยากรแร่ธาตุต่างหากที่มีประโยชน์และมีความสำ �คัญมากที่สุด สำ �หรับนักภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม และนักนิเวศวิทยา ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพถูกมองและถูกจัดว่ามีความสำ �คัญมาก ที่สุดเหนือทรัพยากรธรรมชาติอื่นทั้งมวล มิใช่เพียงเพราะว่าทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ คือรากเหง้าของทรัพยากรอย่างอื่นทั้งหมดเท่านั้น แต่เพราะทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ คือสิ่งเดียวที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้แก่โลกของเรา (To sustain the planet earth) ความ เสื่อมโทรม และ/หรือ ความร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติอย่างอื่นในสายตาของนักภูมิศาสตร์สิ่ง แวดล้อมและนักนิเวศวิทยา แม้จะมีความน่าวิตกมาก แต่ก็ไม่น่าวิตกเท่ากับการสูญเสียความหลาก หลายทางชีวภาพ ที่น่าวิตกมากไปกว่านั้นคือ โอกาสและความเปราะบางต่อการถูกทำ �ลายของ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างอื่นมีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับโอกาสและความเปราะบางต่อการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพ เหตุปัจจัยของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เหตุปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ เหตุปัจจัยทางธรรมชาติ และเหตุปัจจัยที่มนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้อง ๑. เหตุปัจจัยทางธรรมชาติ ที่สำ �คัญประกอบด้วย พิบัติภัยธรรมชาติ พิบัติภัยธรรมชาติหลายลักษณะ เช่น อุทกภัย วาตภัย คลื่นสึนามิ (Tsunami) ภูเขาไฟระเบิด สามารถทำ �ให้พืชและสัตว์จำ �นวนมากในพื้นที่ค่อนข้างกว้างขวางล้มตาย การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศ (climate change) การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิมีผลกระทบต่อทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพใน วงกว้าง ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำ �รงชีวิตของพืชและสัตว์ ทั้งต่อการอยู่อาศัยและ การขยายพันธุ์ พืชจำ �นวนหลายชนิดตายเพราะอุณหภูมิของอากาศที่ร้อนขึ้น สัตว์น้ำ �จำ �นวนไม่น้อย เช่นกันที่ต้องตายเนื่องจากอุณหภูมิของน้ำ �ที่เพิ่มสูงขึ้น ๑๓ ๑๓ Miller, 1998

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=