รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 157 มนัส สุวรรณ ความหลากหลายทางชีวภาพกรณีของดอยอินทนนท์ พื้นที่ดอยอินทนนท์ที่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำ �ดับที่ ๖ ของประเทศมีพื้นที่ ประมาณ ๔๘๑.๘๙๔๕ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๓๐๑,๑๘๔.๐๕ ไร่ ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่เกินกว่า ที่จะทำ �การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ทั้งหมดให้มีความละเอียด ถูกต้องและแม่นยำ �อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาและการสำ �รวจตามหลักวิชาการ ของนักวิชาการป่าไม้ นักนิเวศวิทยา นักชีววิทยา และนักธรรมชาติวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์ สามารถสรุปเชิงอนุมานได้ว่า ดอยอินทนนท์เป็นพื้นที่แห่งหนึ่งของโลกที่มีความหลากหลายทาง ชีวภาพสูง ในระดับความหลากหลายเชิงระบบนิเวศ ดอยอินทนนท์มีระบบนิเวศที่มีความแตกต่าง กันอย่างเด่นชัดถึง ๕ ระบบนิเวศ ประกอบด้วย (๑) ระบบนิเวศแบบป่าเต็งรัง (dry dipterocarp forest) (๒) ระบบนิเวศแบบป่าเบญจพรรณ (mixed deciduous forest) (๓) ระบบนิเวศแบบป่าดิบ แล้ง (dry evergreen forest) (๔) ระบบนิเวศแบบป่าดิบเขาตอนล่าง (lower montane rain forest) และ (๕) ระบบนิเวศแบบป่าดิบเขาตอนบน (upper montane rain forest) ๑๐ ความหลากหลายในชนิดของพืชและสัตว์ในแต่ละระบบนิเวศดังกล่าวข้างต้นมีจำ �นวน (number of species) และความมั่งคั่ง (species richness) แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะทาง กายภาพ เช่น ความลาดชัน อุณหภูมิ และความชื้นของพื้นที่เป็นสำ �คัญ อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวโดย รวมได้ว่าบนดอยอินทนนท์พบการปรากฏของพรรณไม้เฉพาะถิ่น ๑,๒๗๔ ชนิด ในจำ �นวนนี้เป็น พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในโลกจำ �นวน ๓๗ ชนิด และพบครั้งแรกในประเทศไทยจำ �นวน ๓๑ ชนิด ที่ พบว่าเป็นความพิเศษและเพิ่มสุนทรียภาพให้แก่ดอยอินทนนท์อีกอย่างหนึ่งคือ กล้วยไม้ ซึ่งพบ มากกว่า ๙๐ ชนิด ๑๑ กรณีความหลากหลายในชนิดของสัตว์ซึ่งแยกเป็น ๔ ประเภท ที่สำ �คัญคือ นก สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยน้ำ �นม สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ � พบว่ามีสัตว์ดังกล่าวทั้งหมดปรากฏรวมกันบน ดอยอินทนนท์จำ �นวน ๔๖๔ ชนิด นกคือสัตว์ที่มีความหลากหลายในชนิดมากที่สุดถึง ๓๘๒ ชนิด รองลงมาคือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ �นมซึ่งพบจำ �นวน ๓๙ ชนิด สำ �หรับสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ �พบในจำ �นวนลดหลั่นลงมาคือ ๒๙ ชนิดและ ๑๔ ชนิดตามลำ �ดับ ที่น่าสนใจมากไปกว่านี้คือ มีการคาดประมาณว่ามีผีเสื้ออีกไม่ต่ำ �กว่า ๑๐๐ ชนิดอาศัยอยู่บนดอยอินทนนท์ ๑๒ ๑๑ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๓ ๑๒ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๓

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=