รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 156 ดอยอินทนนท์ : ความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างมากมายมหาศาล ความสำ �คัญของความหลากหลายทางชีวภาพสามารถกล่าวโดยสรุปเป็นราย ประเด็นได้ ดังนี้ ๑. ความสำ �คัญต่อการดำ �รงชีวิตของมนุษย์ ความหลากหลายทางชีวภาพคือแหล่งของ ปัจจัยพื้นฐานที่สำ �คัญ ๔ อย่างของมนุษย์ ไม่ผิดที่คนจำ �นวนมากกล่าวว่าพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพสูงเปรียบเสมือนมีซูเปอร์มาร์เก็ต (supermarket) ขนาดใหญ่ที่เป็นทั้งแหล่งอาหารและ สมุนไพร มิใช่เพียงเท่านั้น ความหลากหลายทางชีวภาพสูงของพื้นที่ยังเป็นแหล่งวัตถุดิบสำ �หรับ แปรรูปเป็นเครื่องนุ่งห่ม และที่พักอาศัยอีกด้วยเช่นกัน ๒. ความสำ �คัญด้านนิเวศวิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับ ความซับซ้อนเชิงนิเวศวิทยา (ecological complexity) ยิ่งมีพืชและสัตว์มากชนิดเท่าไรก็ตามใน พื้นที่ ย่อมหมายถึงโซ่อาหาร (food chain) ที่มีจำ �นวนมากจนทำ �ให้เกิดเป็นสายใยอาหาร (food web) ที่ยุ่งเหยิงและซับซ้อน ยิ่งซับซ้อนมากเท่าไร ก็ยิ่งมีผลโดยตรงต่อความยั่งยืนเชิงนิเวศวิทยา (ecological sustainability) มากขึ้นเท่านั้น ๓. ความสำ �คัญทางกายภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสัมพันธ์โดยอ้อมกับ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่หลายประการ พื้นที่ที่มีพืชและสัตว์ปรากฏอยู่เป็นจำ �นวนมากมีส่วน สำ �คัญอย่างยิ่งที่ทำ �ให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ พืชที่มีหลายหลากชนิดและมีเป็นจำ �นวนมาก จะทำ �หน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงานและสารวัตถุให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในระบบ นิเวศ พืชที่มีเป็นจำ �นวนมากในพื้นที่จะทำ �หน้าที่เป็นตัวกลางในการควบคุมอุณหภูมิของอากาศให้ เป็นปรกติ ในทำ �นองเดียวกัน พืชพรรณที่มีอย่างหนาแน่นในพื้นที่ยังมีส่วนสำ �คัญที่ทำ �ให้เกิดฝน นอก เหนือจากที่กล่าวแล้ว การมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงของพื้นที่ ยังสามารถลดการสูญเสียหน้า ดินจากการชะล้างพังทลาย ช่วยป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากการเกิดพิบัติภัย เช่น น้ำ �ท่วมฉับ พลัน ภัยแล้ง ๑๐ khamyong, et al., 2001

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=