รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 155 มนัส สุวรรณ ธรรมชาติของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยธรรมชาติหรือความเป็นจริงเชิงสาระทางชีววิทยา ความหลากหลายทางชีวภาพมิได้ พิจารณาเพียงว่าในแต่ละพื้นที่ แต่ละระบบนิเวศมีพืชและสัตว์อย่างละกี่ชนิดที่ปรากฏอยู่เท่านั้น แต่ ยังพิจารณาลึกลงไปถึงการจัดลำ �ดับของสาร (organization of matters) ตั้งแต่ส่วนที่เล็กที่สุด (ส่วน ย่อยของอะตอม : sub-atom) ไปจนถึงส่วนที่ใหญ่ที่สุด (จักรวาล : universe) และความซับซ้อนเชิง นิเวศวิทยา (ecological complexity) ซึ่งหมายรวมถึงการถ่ายโอนพลังงานและสารวัตถุในระบบ นิเวศ การทำ �หน้าที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบนิเวศ และความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละชุมชน เชิงนิเวศวิทยา ๘ ด้วยธรรมชาติดังกล่าวข้างต้น นักนิเวศวิทยาได้แบ่งความหลากหลายทางชีวภาพออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ความหลากหลายในชนิด (species diversity) และความหลากหลายเชิงระบบนิเวศ (ecosystem diversity) - ความหลากหลายทางพันธุกรรม หมายถึง ความแตกต่างในสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใน ชนิดหรือประเภทเดียวกัน เช่น ความหลากหลายสายพันธุ์ของมะม่วง หรือลำ �ไย ความหลากหลาย สายพันธุ์ในชนเผ่าของมนุษย์ - ความหลากหลายในชนิด หมายถึง จำ �นวนชนิดหรือประเภทของสิ่งมีชีวิตที่มีความ แตกต่างกันภายในชุมชน หรือในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ เช่น พรรณไม้หลายหลากชนิดในป่าเบญจพรรณ ความหลากหลายของสัตว์น้ำ �ทั้งกุ้ง หอย ปู และปลา ในระบบนิเวศแบบชะวากทะเล (estuary) - ความหลากหลายเชิงระบบนิเวศ หมายถึง การปรากฏของชุมชนของสิ่งมีชีวิตหรือระบบ นิเวศที่แตกต่างกันในพื้นที่หนึ่ง ๆ บนดอยอินทนนท์ เช่น การปรากฏของชุมชนสิ่งมีชีวิตในระบบ นิเวศแบบป่าเต็งรัง ในระบบนิเวศแบบป่าเบญจพรรณ ในระบบนิเวศแบบป่าดิบแล้ง และในระบบ นิเวศแบบป่าดิบชื้น ความสำ �คัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ถ้านิยามของคำ �ว่า “ทรัพยากร” หมายถึงสิ่งที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำ �รงชีวิต ของมนุษย์แล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพก็คือ ทรัพยากรประเภทหนึ่งที่มีศักยภาพที่จะสร้างเสริม ขึ้นมาใหม่ได้หากมีการจัดการอย่างเหมาะสม ๙ มิใช่เฉพาะแต่เพียงประโยชน์ต่อชีวิตของมนุษย์เท่านั้น ความหลากหลายทางชีวภาพยังมีความสำ �คัญในเชิงนิเวศวิทยาและในเชิงกายภาพต่อโลกของเราใบนี้ ๘ Cunningham, 1999 ๙ Miller, 1998
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=