รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 11 ปิยนาถ บุนนาค ทอดพระเนตรกีฬาชนโค และการแสดงโนราของโรงเรียนสตรีประจำ �จังหวัด ทรงถ่ายภาพยนตร์ การแสดงโนราแบบต่าง ๆ ของจังหวัดสงขลา เป็นต้น วันที่ ๒๐ มีนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมจังหวัดสตูลซึ่งขณะนั้นยังไม่มีความเจริญ สภาพของถนนหนทางที่เชื่อมระหว่าง จังหวัดยังเป็นถนนลูกรัง บางแห่งเป็นทางเกวียนทุรกันดารมาก ต่อมาได้เสด็จฯ ไปยังจังหวัด ปัตตานี ครั้นวันที่ ๒๓ มีนาคม ได้เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่งจากจังหวัดปัตตานีไปยังจังหวัดยะลา เสด็จประทับ ณ มุขด้านหน้าของคุรุสัมมนาคาร ทอดพระเนตรกระบวนแห่บายศรีอันเป็นประเพณี โบราณ และการแสดงของชาวจังหวัดยะลา และเสด็จพระราชดำ �เนินไปยังศาลาจังหวัดยะลา เพื่อ ทรงเยี่ยมราษฎร และเสด็จพระราชดำ �เนินกลับจังหวัดปัตตานีในวันเดียวกัน จากจังหวัดปัตตานีก็ เสด็จฯ ไปเยี่ยมเยียนประชาชนที่จังหวัดนราธิวาสจนถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม จึงเสด็จฯ กลับกรุงเทพฯ โดยขบวนรถไฟพระที่นั่ง ต่อมาช่วงวันที่ ๙-๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปยัง จังหวัดยะลาเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีสมโภชและขึ้นระวางพระยาช้างต้น พระเศวตสุรคชาธาร ในโอกาสนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรสำ �หรับจังหวัดยะลาด้วย ต่อมาวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรม- โอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารไปทรงเยี่ยมชมกองกำ �ลังทางอากาศเฉพาะกิจและทอดพระเนตร การฝึกทักษิณ ๑๒ ของกองทัพเรือ ณ จังหวัดสงขลา และจังหวัดนราธิวาส ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำ �ริให้สร้างพระตำ �หนักทักษิณราช- นิเวศน์ ขึ้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อใช้เป็นที่ประทับแรมในขณะที่ทรงงานอยู่ในพื้นที่ กระทั่งการ ก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๑๖ นับเป็นปีแรกที่ทั้งสองพระองค์เริ่มเสด็จแปรพระราชฐานมาประทับ แรมยังพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เพื่อดูแลทุกข์สุขพสกนิกรของพระองค์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ดีเนื่องจาก พื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เป็นพื้นที่พิเศษ ประชากรกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์เป็นคนไทย มุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม และใช้ ‘ภาษามลายูท้องถิ่น’ สื่อสารในชีวิตประจำ �วันเป็นส่วนใหญ่ บาง คนพอจะสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ แต่หลายคนไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้เลย ทำ �ให้เวลาเสด็จฯ ไปที่ใดก็ตาม จำ �เป็นต้องมีคนคอยเป็นล่ามแปลให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเรียนและ ฝึกฝนจนทรงใช้ภาษามลายูสำ �เนียง “ไทรบุรี” สื่อสารกับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี (พ.ศ. ๒๕๓๕) ๓๐ ๓๐ วาเด็ง ปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก (http://www.m-culture.in.th/album/๑๕๓๓๑ ) วันที่สืบค้น ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=