รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 154 ดอยอินทนนท์ : ความเปราะบางต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำ �หรับบทความนี้ ผู้เขียนขอกำ �หนดนิยามของ ความหลากหลายทางชีวภาพ ว่า หมายถึง “ การปรากฏของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่หนึ่ง ๆ ” พื้นที่ใดมีพืช และสัตว์ปรากฏอยู่หลายชนิดและเป็นจำ �นวนมาก แสดงว่า พื้นที่นั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพ สูง ในทางตรงกันข้าม พื้นที่ใดก็ตามที่มีการปรากฏของพืชและสัตว์อยู่น้อยชนิด แสดงว่าพื้นที่นั้นมี ความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ � สิ่งที่จำ �เป็นต้องทำ �ความเข้าใจอย่างหนึ่งคือ พื้นที่ที่มีความกว้างขวางหรือมีขนาดใหญ่โต ไม่จำ �เป็นต้องมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และพื้นที่ที่มีขนาดเล็กก็ไม่จำ �เป็นต้องมีความหลาก หลายทางชีวภาพต่ำ �เสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพที่เป็นปัจจัยกำ �หนดความสามารถ ในการปรากฏ (limiting factors) ของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่นั้นเป็นสำ �คัญ ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำ �ไม ในทะเลทรายซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางใหญ่โตนับเป็นแสนเป็นล้านไร่ แต่พบว่ามีพืชและสัตว์ปรากฏอยู่ เพียง ๔-๕ ชนิด การที่พื้นที่ขนาดใหญ่ดังกล่าวมีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ �เป็นเพราะมีปริมาณ ความชื้นจากน้ำ �ฝนที่ตกลงมาน้อยมากเป็นปัจจัยกำ �หนด ในทางกลับกัน บางพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตอากาศแบบป่าร้อนชื้น (tropical rain forest) แม้มีขนาดเล็กเพียง ๑-๒ ไร่ แต่เป็นพื้นที่ที่มี ความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก กล่าวคือมีการปรากฏของพืชและสัตว์มากมายหลายชนิด นี้เป็น เพราะมีอุณหภูมิและปริมาณน้ำ �ฝนที่ค่อนข้างสูงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการเจริญเติบโตของพืชและการ ดำ �รงชีวิตของสัตว์ (ก) (ข) ภาพที่ ๓ พื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ � (ก) และพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง (ข)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=