รวมเล่ม
เป็นการลงมือทำ �กิจกรรมการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาร่วมกัน ซึ่งเป็นการนำ �ส่วนดี หรือจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาสนับสนุนกันและกัน เพื่อความสำ �เร็จของการประเมินคุณภาพภายใน ของสถานศึกษา การจัดการเครือข่ายกลยุทธ์สำ �คัญสู่ความสำ �เร็จของการประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษาประกอบด้วย การก่อรูปเครือข่าย การจัดระบบบริหารเครือข่าย การใช้ประโยชน์เครือ ข่าย และการธำ �รงรักษาเครือข่าย (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ : ๒๕๕๓; สถาบันวิจัยและพัฒนาการ เรียนรู้เพื่อคุณภาพการศึกษา : ๒๕๔๗; ประวิต เอราวรรณ์ : ๒๕๕๑; วชิราวุธวิทยาลัย: ๒๕๕๖) โดยสรุป บทความศึกษาวิจัยเอกสารและประสบการณ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำ �เสนอ บัญญัติ ๑๐ ประการของแนวทางสู่ความสำ �เร็จในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน รายละเอียดของบทความวิจัยประกอบด้วย เหตุผลและความจำ �เป็นในการจัดระบบประกัน คุณภาพสถานศึกษา เจตนารมณ์ของหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา สาระบัญญัติตามมาตรา ๔๗ _ ๕๑ การประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษาภายในของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การยกตัวอย่างระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาของ วชิราวุธวิทยาลัย ความจำ �เป็นในการแสวงหาแนวทางสู่ความสำ �เร็จในการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัย วิธีการศึกษาวิจัยเอกสาร และผลการวิจัย เอกสารคือ แนวทางหรือกลยุทธ์สำ �คัญ ๑๐ ประการในการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพภายในของ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความสำ �เร็จในการสร้างคุณภาพและมาตรฐานในการบริหารจัดการศึกษา ของสถานศึกษา ทำ �ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง บัญญัติ ๑๐ ประการของ แนวทางสู่ความสำ �เร็จในการประกันคุณภาพในสถานศึกษา ได้แก่ (๑) ภาวะผู้นำ �ของผู้บริหารและ การเป็นผู้นำ �การเปลี่ยนแปลง (๒) การทำ �งานเป็นทีมและการเรียนรู้โดยการทำ �งานเป็นทีม (๓) การ กำ �หนดเจ้าภาพหรือผู้รับผิดชอบ (๔) การมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือผู้เกี่ยวข้อง (๕) การสร้าง ความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำ �งานประกันคุณภาพ (๖) การบูรณาการ การประกันคุณภาพกับการบริหารจัดการศึกษาและการปฏิบัติงานปรกติ (๗) การวางแผน การกำ �กับ ดูแล และนิเทศระบบประกันคุณภาพ (๘) การพัฒนาทรัพยากรบุคคลมืออาชีพ และการสร้างขวัญ กำ �ลังใจในการปฏิบัติงาน (๙) การวิจัย พัฒนา และประเมินเชิงระบบ และ (๑๐) การจัดการเครือข่าย ส่วนอีก ๕ ประการ คือ เป็นกลวิธีในแนวทางหรือกลยุทธ์สำ �คัญใน ๑๐ ประการ ดังกล่าวแล้ว .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 145 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=