รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 9 ปิยนาถ บุนนาค ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมซึ่งมีความเป็นอัตลักษณ์ใน เรื่องชาตินิยมเผ่าพันธุ์ (ethnic nationalism) เพราะกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลายมักมีลักษณะอนุรักษ์ นิยมทางวัฒนธรรม พยายามปกป้องรักษาวัฒนธรรมของตนให้สืบเนื่องตลอดเวลาอย่างไม่ขาด สาย ๒๔ กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อย (ethnic minorities) จะทำ �การต่อสู้เพื่อรักษาเอกลักษณ์ซึ่งมักเป็น ในรูปของการตื่นตัวทางวัฒนธรรม เพื่อทัดทานอำ �นาจที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของรัฐ และเพื่อความอยู่ รอดของหน่วยวัฒนธรรมของตน ๒๕ ชาวไทยมุสลิมเองก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยที่มีคุณสมบัติของ ชาตินิยมเผ่าพันธุ์อยู่ในระดับสูง ประจวบกับสาเหตุพื้นฐานอื่น ๆ พลังอำ �นาจแห่งประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษา ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และสภาพทางเศรษฐกิจดังกล่าวจึงนำ �ไป สู่การก่อตัวของปัญหาการปกครองชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นปัญหาสำ �คัญ เพราะกระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพความมั่นคงและความเป็นเอกภาพของประเทศชาติ ๒๖ ซึ่งตาม บทบัญญัติมาตรา ๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับได้ระบุตรงกันว่า “ประเทศไทย เป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้” ๒๗ การเสด็จพระราชดำ �เนินเยี่ยมเยียนประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงต้นรัชกาลระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๔-พ.ศ. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ พระราชดำ �เนินเยี่ยมเยียนประชาชนอย่างใกล้ชิดในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทยากจน ห่างไกลและทุรกันดาร ทำ �ให้ทรงรับรู้และทรงสร้างสม “พระคลังข้อมูลด้านการพัฒนา” ๒๘ ด้วย พระองค์เอง ทรงพบว่าชาวชนบทมีปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมโดยเฉพาะ การขาดแคลนแหล่งน้ำ � การส่งน้ำ � และคุณภาพของดิน จึงทรงสนพระราชหฤทัยด้านการพัฒนาดิน การส่งน้ำ �และการพัฒนาการเกษตรด้วยวิธีการต่าง ๆ ทรงมีพระราชปณิธานที่จะพระราชทานความ ช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาระยะยาว เพื่อให้คนในชนบทสามารถช่วยตนเองให้ พออยู่พอกิน สามารถพึ่งตนเองและมีฐานะมั่นคง ๒๔ อารง สุทธาศาสน์. “ชนกลุ่มน้อยกับการเมือง,” วารสารสังคมศาสตร์. ปีที่ ๑๔ ฉบับ ๒ (เมษายน, ๒๕๒๐), หน้า ๗๙. ๒๕ สุรินทร์ พิศสุวรรณ, “เงื่อนไขทางการเมืองที่นำ �ไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้”, ชุดศึกษาวิจัยพัฒนาการสิทธิ มนุษยชนในประเทศไทย สี่จังหวัดภาคใต้กับปัญหาสิทธิมนุษยชน สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธิโครงการ ตำ �ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๒๗, หน้า ๖. ๒๖ ดูรายละเอียดใน ปิยนาถ บุนนาค. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. ๒๔๗๕- ๒๕๑๖). พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗, หน้า ๒๙-๘๒. ๒๗ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, ราชกิจจานุเบกษา . เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๖๙ วันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗, หน้า ๖. ๒๘ คณะกรรมการอำ �นวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, ๒๕๔๕, หน้า ๓๓๕.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=