รวมเล่ม
แผนภาพที่ ๓ ยังแสดงถึงการประเมินคุณภาพภายนอก โดยสำ �นักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ซึ่งวชิราวุธวิทยาลัยจะได้รับการประเมินจากภายนอกอย่าง น้อย ๑ ครั้งในทุก ๕ ปี การประเมินจากภายนอกจะช่วยให้ข้อเสนอแนะสำ �คัญในการปรับปรุง พัฒนาวชิราวุธวิทยาลัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการจัดระบบการประกันคุณภาพภายในของ วชิราวุธวิทยาลัยให้มีความเข้มแข็งและเป็นมาตรฐานยิ่งขึ้นในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานของวชิราวุธวิทยาลัย ในการพัฒนาระบบและกล่าวในการประกันคุณภาพของ วชิราวุธวิทยาลัยในแผนภาพที่ ๓ นอกจากเป็นระบบประกันคุณภาพเพื่อพัฒนานักเรียนตามพระ บรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พึงจัดระบบประกันคุณภาพ การศึกษาของวชิราวุธวิทยาลัยที่รองรับการประเมินคุณภาพภายนอกด้วย โดยการนำ �มาตรฐาน การประเมินคุณภาพภายนอกมาเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการศึกษาวชิราวุธวิทยาลัย พร้อมรายงานการประเมินตนเองเชิงประจักษ์ที่แสดงข้อมูลและหลักฐานประกอบการประเมินรอบ ด้าน ผลจากการนำ �ผลประเมินตนเองไปปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษา ปรับการเรียนและเปลี่ยน การสอน ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำ �คัญ สา ระสำ �คัญของ ระบบและกระบวนกา รประกันคุณภาพของ วชิร าวุธวิทยาลัย ๓ ระบบ ๔ กระบวนการนั้น รุ่ง แก้วแดง (๒๕๔๕) ได้สรุปความหมายสำ �คัญเกี่ยวกับระบบและ กระบวนการประกันคุณภาพของการประกันคุณภาพภายใน ไว้ดังนี้ “การประกันคุณภาพภายใน คือ กระบวนการบริหารจัดการที่มีการพัฒนาปรับปรุงอย่าง ต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นภารกิจที่สถานศึกษาจะต้องทำ �อยู่แล้ว การประกัน คุณภาพจึงไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเป็นเรื่องแปลกแยกไปจากงานปรกติ ไม่ใช่การประเมินเพื่อประเมิน ไม่ เน้นการสร้างเอกสาร แบบวัดหรือแบบประเมินมากมายที่จะกลายเป็นกระดาษกองโต แต่เป็นการ ประเมินเพื่อพัฒนาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำ �คัญ” ในการประเมินตนเองซึ่งเป็นระบบและกระบวนการหนึ่งที่สำ �คัญของการประกันคุณภาพ ของวชิราวุธวิทยาลัย สุมน อมรวิวัฒน์ (๒๕๔๕) ได้สรุปไว้ดังนี้ “...การประเมินตนเองก็เหมือนกับการส่องกระจกดูตนเอง... สถานศึกษาใช้การประเมินเป็นกระจก ส่องตน ส่องงาน ส่องศิษย์ แล้ววินิจวิเคราะห์ หาจุดอ่อน จุดแข็ง ที่เกิดกับตน กับงาน และกับ ศิษย์ จะช่วยทำ �ให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น” .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 131 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=