รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 8 พระมหากษัตริย์กับประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยประชาธิปไตย สมัยประชาธิปไตย นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าสถาบันพระมหา กษัตริย์จะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศพระองค์มิได้ทรงมี พระราชอำ �นาจในการบริหารบ้านเมืองโดยตรง แต่ทรงใช้พระราชอำ �นาจผ่านฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ รัฐบาลจึงเป็นผู้กำ �หนดและดำ �เนินนโยบายในการปกครองชาว ไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีอำ �นาจอีก ๒ ฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายนิติบัญญัติมีบทบาท เสริมในระบบรัฐสภา ๒๒ แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ก็มีความสำ �คัญอย่างยิ่งสำ �หรับประเทศไทย เพราะสิ่งสำ �คัญประการหนึ่งคือการที่ทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกทุกศาสนาบนผืนแผ่นดินไทย จึงมีผลเท่ากับ “เป็นการรวมคนไทยที่มีความศรัทธา ความเชื่อในศาสนาและลัทธิต่าง ๆ กันไว้ที่ สถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันสูงสุดประจำ �ชาติ” ๒๓ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลปัจจุบันได้ทรงแสดงให้ประจักษ์ว่าตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปีนับตั้งแต่ เสด็จขึ้นขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นต้นมา พระองค์ทรงเป็นองค์ อัครศาสนูปถัมภกผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐยิ่ง ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยโดยทั่ว หน้ากันไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นชาติพันธุ์ใด นับถือศาสนาใด และอยู่ในภูมิภาคไหนของประเทศ ซึ่งรวมถึง ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในสมัย ประชาธิปไตยที่ได้เสด็จพระราชดำ �เนินทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ด้วยพระองค์เองหลายครั้งทำ �ให้ทรงทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ทุกข์ยากแก่ประชาชนและได้ทรงมีพระราชวิริยอุตสาหะแก้ไขปัญหาเพื่อ “บำ �บัดทุกข์บำ �รุงสุข” ให้แก่พสกนิกรในพื้นที่นั้นด้วยพระราชปณิธานที่จะให้พวกเขามีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับพสกนิกรในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ๒๒ ดูรายละเอียดใน ปิยนาถ บุนนาค. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. ๒๔๗๕- ๒๕๑๖). พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗, ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. นโยบายการปกครองของ รัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์-รัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ (๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖-๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑). กรุงเทพฯ : ทุนอุดหนุนการวิจัยสำ �นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๕๑ และ ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ-รัฐบาลพันตำ �รวจโท ทักษิณ ชินวัตร (๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑-๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙) กรุงเทพฯ : ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำ �นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๕๒. ๒๓ สมาน รังสิโยกฤษฎ์, การเข้าถึงประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, ๒๕๑๐, หน้า ๑๔๒.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=