รวมเล่ม
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจะได้ดำ �เนินการได้ครบถ้วนและถูกต้อง ทั้งนี้ เพราะสาระบัญญัติที่บัญญัติไว้ ๕ มาตรา คือ มาตรา ๔๗–๕๑ อาจจะไม่สะท้อนเจตนารมณ์ได้ ทั้งหมด ด้วยความจำ �กัดของการเขียนกฎหมาย (วิจิตร ศรีสอ้าน, ๒๕๔๕) จากการศึกษาวิเคราะห์ ของคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร พบว่า โดยเจตนารมณ์แล้วต้องการให้ระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาเข้าไปส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาให้เกิดประสิทธิผลตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ สำ �หรับเจตนารมณ์เฉพาะเจาะจงสามารถสรุปได้ ๖ ประการ คือ (๑) ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือเข้าไปช่วยส่งเสริมการกระจาย อำ �นาจการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทำ �ให้ความ เชื่อมั่นและเชื่อถือได้ว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานใกล้เคียงกัน โดยสรุป ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือของการบริหารและการกระจายอำ �นาจให้ได้ผล และการปฏิรูปการศึกษาเกิดประสิทธิผล คือ พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีความรู้คู่คุณธรรมสมตาม เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒) เป้าประสงค์ของการประกัน คุณภาพการศึกษาเป็นการติดตามตรวจสอบเพื่อนำ �ผลไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารมิได้ มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นการลงโทษ ตัดสินได้ตก และที่สำ �คัญคือ เป็นการประกันคุณภาพการ ศึกษา เพื่อผู้เรียน (๓) การประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาที่มุ่งให้ทำ �อย่าง ต่อเนื่อง เป็นระบบ และมีวิธีการที่เหมาะสม เชื่อถือได้ สะท้อนความเป็นจริง และนำ �ผลไปใช้ได้จริง (๔) มาตรฐานการศึกษาต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กล่าวคือ มุ่งพัฒนาคนไทยให้พัฒนาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งความรู้ คุณธรรม เป็นคนดี คน เก่ง มีความสุขสนุกกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษาถือหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำ �คัญที่สุด ในการกำ �หนดมาตรฐานการ ศึกษา และหลักเกณฑ์ของการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นหน้าที่ของหน่วยงานระดับชาติ โดยพึง รับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง (๕) การประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในการพัฒนา คุณภาพ การตรวจติดตามคุณภาพ และการประเมินคุณภาพภายใน เป็นหน้าที่ของสถานศึกษา โดย ความร่วมมือจากชุมชน และการสนับสนุนจากต้นสังกัด ส่วนการประกันคุณภาพภายนอก โดยการ ประเมินคุณภาพภายนอก เป็นหน้าที่ขององค์กรอิสระที่ไม่เป็นส่วนราชการ เพื่อมีความเป็นกลางใน การประเมินสถานศึกษาของทั้งรัฐและเอกชน (๖) การประเมินคุณภาพเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา การประเมินเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการประเมินเพื่อการปรับปรุงการบริหารให้ได้ มาตรฐาน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะนำ �ผลประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารให้ .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 122 แนวทางสู่ความสำ �เร็จในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=