รวมเล่ม
ศึกษาของชาติ ดังที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒๗ มาตรฐาน ๙๑ ตัวบ่งชี้ สำ �หรับมาตรฐานขั้นต่ำ �ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรกเป็น ๑๔ มาตรฐาน ด้านผู้บริหาร ๕ มาตรฐาน เป็นต้น และเมื่อจัดการศึกษาแล้ว ก็ต้องการศึกษาว่า สามารถจัดการศึกษาได้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานที่กำ �หนดหรือไม่ ถ้าต้องการให้การศึกษาเป็นปัจจัยของการพัฒนาทั้งปวงแล้ว เรื่อง คุณภาพและมาตรฐานการศึกษานับเป็นเรื่องสำ �คัญเรื่องหนึ่งทีเดียว ในการปฏิรูปการศึกษา มุ่งให้การบริหารจัดการได้มาตรฐานโดยยึดเอกภาพเชิงนโยบาย แต่ หลากหลายการปฏิบัติ กระจายอำ �นาจสู่สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษาและองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นโดยมุ่งหวังให้สถานศึกษาเข้มแข็งเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดย เฉพาะคุณภาพของผู้เรียนทั้งความรู้คู่คุณธรรม ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาจะช่วยให้สถาน ศึกษาพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นหลักประกันเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษา และคุณภาพ การศึกษาตามมาตรา ๔๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่กำ �หนดให้รัฐ จะต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปีอย่างกว้างขวางทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่า ใช้จ่าย อีกทั้งระบบประกันคุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะระบบประกันคุณภาพภายนอกจะเป็นการ ระดมสรรพกำ �ลังจากภายนอกมาช่วยพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา อันจะ นำ �ไปสู่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำ �คัญของการแข่งขัน และนำ �ไปสู่การพัฒนาทั้ง ปวงได้อย่างแท้จริง ด้วยเหตุผลและความจำ �เป็นในการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาดังกล่าว ในมาตรา ๑๙ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำ �หนดหลักการจัดระบบโครงสร้างและ กระบวนการจัดการศึกษาไว้ประการหนึ่ง คือ “ได้มีการกำ �หนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และทุกประเภทการศึกษา” อีกทั้งได้มีสาระบัญญัติกำ �หนดไว้ใน หมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๗-๕๑ เจตนารมณ์ของหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา เจตนารมณ์ของหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา แม้เจตนารมณ์จะมิได้ถือว่าเป็นกฎหมาย แต่เจตนารมณ์ก็เป็นที่มาของกฎหมาย คือ มาตรา ๔๗-๕๑ ของหมวด ๖ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถ้าได้ทราบถึงเจตนารมณ์ ที่แท้จริงย่อมจะช่วยให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งหน่วยงานต้นสังกัด สถานศึกษา และสำ �นักงาน .................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 121 สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=