รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 117 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ สลัดโดยให้ครอบคลุมนอกจากการกระทำ �การมิชอบด้วยกฎหมายให้รวมการใช้กำ �ลัง หรือการกักขัง หรือการกระทำ �ใด ๆ อันเป็นการปล้น ตลอดจนการกระทำ �ที่เป็นการคุกคามและอาจก่อให้เกิด อันตรายต่อการเดินเรือเพื่อให้ครอบคลุมลักษณะการกระทำ �ผิดในปัจจุบัน และทำ �ให้สามารถปรับใช้ หลักเขตอำ �นาจสากลของรัฐได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น และอีกทางหนึ่งคือการปรับแก้กฎหมายเพื่ออนุวัติ การตามความตกลงให้ส่งตัวผู้กระทำ �ผิดไปดำ �เนินคดีที่ศาลภูมิภาคหรือศาลพิเศษที่จะจัดตั้งขึ้นได้ ปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน จากการที่ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการกระทำ �อันเป็นโจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ ปราศจาก บทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนฐานการกระทำ �การอันเป็นโจรสลัด ทำ �ให้ในทางปฏิบัติเกิด ปัญหาแก่เจ้าหน้าที่ในการดำ �เนินการ กล่าวคือ มาตรา ๑๘ ของกฎหมายดังกล่าวกำ �หนดให้ศาล อาญาเป็นศาลที่มีเขตอำ �นาจในการพิจารณาคดี แต่หากการสอบสวนได้กระทำ �ในท้องที่ซึ่งอยู่ในเขต อำ �นาจของศาลใดก็ให้ชำ �ระที่ศาลนั้นได้ด้วย จึงทำ �ให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือไทยเมื่อจับกุมผู้กระทำ �ผิด ฐานโจรสลัดไม่อาจส่งตัวผู้กระทำ �ผิดไปดำ �เนินคดียังศาลของรัฐอื่นได้ตามหลักการทั่วไป แต่ในกรณีที่สามารถดำ �เนินการส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่ง ให้อำ �นาจในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามมาตรา ๗ โดยกำ �หนดเงื่อนไขต่าง ๆ และกำ �หนดขั้นตอนใน การดำ �เนินการว่าต้องผ่านการพิจารณาโดยศาล ซึ่งทำ �ให้เรือรบไทยที่จับกุมโจรสลัดได้ ไม่อาจส่งตัว ให้แก่รัฐอื่นได้ โดยต้องนำ �ตัวโจรสลัดกลับมายังประเทศไทยเพื่อให้ศาลไต่สวนก่อนที่จะพิจารณาส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนต่อไปได้ แนวทางในการแก้ไขเพื่อให้สามารถส่งโจรสลัดในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนได้ โดยไม่ฝ่าฝืน บทบัญญัติของ พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดนซึ่งระบุให้ต้องผ่านการพิจารณาคดีโดยศาลก่อน จึงควร ปรับปรุงแก้ไขมาตรา ๖ ของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการกระทำ �อันเป็นโจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ ให้สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้หากเจ้าหน้าที่ทหารเรือตรวจสอบสิทธิในการชักธงของเรือ และตรวจพิสูจน์สัญชาติตลอดจนสอบสวนแล้วปรากฏว่ามีการกระทำ �เป็นโจรสลัดก็ให้มีอำ �นาจ ส่งตัวผู้กระทำ �ความผิดไปดำ �เนินคดีในศาลของรัฐอื่นที่ประเทศไทยมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้าย ข้ามแดนระหว่างกัน โดยมิต้องนำ �ตัวกลับมาไต่สวนยังศาลที่มีเขตอำ �นาจในราชอาณาจักรไทย อันเป็นทางปฏิบัติที่หลายประเทศใช้อยู่เช่นตามกฎหมายอังกฤษ เยอรมนี สหรัฐอเมริกา และ เนเธอร์แลนด์ ๓๔ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำ �เนินการ ต่าง ๆ ๓๔ Advisory Council on International Affairs, อ้างแล้ว, p. 45.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=