รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 116 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้โดยไม่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ ควรต้อง ทำ �ความตกลงระหว่างประเทศทั้งในรูปของสนธิสัญญาหรือหนังสือแลกเปลี่ยน กล่าวคือ ในกรณี ตัวอย่างของโจรสลัดโซมาเลีย รัฐต่าง ๆ ได้ทำ �สนธิสัญญากับเคนยาซึ่งมีผลจนถึง ค.ศ. ๒๐๐๙ เพื่อ อำ �นวยความสะดวกในการส่งตัวโจรสลัดข้ามแดนไปยังเคนยา อันทำ �ให้สามารถดำ �เนินคดีกับโจร สลัดได้ในเคนยา โดยมิจำ �ต้องนำ �ตัวกลับไปดำ �เนินคดีในศาลของรัฐผู้จับกุม นอกจากนี้ สหภาพยุโรป และประเทศเซเชลส์ก็ได้ทำ �ความตกลงในรูปหนังสือแลกเปลี่ยน ซึ่งทำ �ให้กองกำ �ลังต่าง ๆ ของรัฐภาคี สมาชิกของสหภาพยุโรปสามารถส่งตัวผู้ต้องหามาดำ �เนินคดีในประเทศเซเชลส์ได้ทันที โดยมิต้องมี หนังสือแจ้งจากฝ่ายสหภาพยุโรปซึ่งแตกต่างกับกรณีสนธิสัญญาของเคนยาซึ่งจำ �ต้องทำ �หนังสือแจ้ง ล่วงหน้าก่อน ๒) แนวทางแก้ไขปัญหาระดับภายในประเทศ สำ �หรับประเทศไทยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการ ใช้เขตอำ �นาจรัฐสากลในการดำ �เนินคดีและลงโทษผู้กระทำ �การเป็นโจรสลัด ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗ (๓) ให้รัฐสามารถลงโทษผู้กระทำ �ผิดนอกราชอาณาจักร ได้โดยไม่ต้องคำ �นึงถึงสัญชาติของผู้กระทำ �ผิดหรือของผู้เสียหายแต่เฉพาะบางกรณีที่ส่งผลกระทบต่อ ผลประโยชน์ของรัฐเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงครอบคลุมการกระทำ �ของโจรสลัดในทะเลหลวง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำ �อันเป็นโจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ (ง) ให้อำ �นาจรัฐในการลงโทษผู้ที่กระทำ �การชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ในทะเลหลวงหรือในเขตเศรษฐกิจ จำ �เพาะไม่ว่าจะเป็นของประเทศใด โดยบุคคลในเรือเอกชนหรืออากาศยานเอกชนลำ �หนึ่งต่อเรือ บุคคลหรือทรัพย์สินในเรืออีกลำ �หนึ่ง และได้กระทำ �ไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้กระทำ �นั้น แต่การ ดำ �เนินการในทางปฏิบัติประสบปัญหาดังนี้คือ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำ �อัน เป็นโจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติการของกองทัพเรือ เนื่องจากมาตรา ๑๔ บัญญัติให้ ให้ชำ �ระความผิดนี้ที่ศาลอาญา แต่ถ้าการสอบสวนได้กระทำ �ในท้องที่ที่อยู่ในเขตอำ �นาจของศาลใด ก็ ให้ชำ �ระที่ศาลนั้นได้ด้วย ถ้าคดีอยู่ในเขตอำ �นาจศาลทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารให้ ชำ �ระที่ศาลทหารกรุงเทพฯ แต่ถ้าสอบสวนในท้องที่ที่อยู่ในเขตอำ �นาจศาลทหารใดก็ให้ชำ �ระที่ศาล ทหารนั้นได้ด้วย ดังนั้นหากสถานที่เกิดเหตุอยู่ห่างไกลจากดินแดนของไทยมากก็ย่อมทำ �ให้ค่าใช้จ่าย ในการดำ �เนินคดีสูงมากด้วย กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายในการนำ �ตัวผู้กระทำ �ผิดกลับไปดำ �เนินคดียังศาลของ รัฐที่จับกุม ในการรวบรวมพยานหลักฐาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของพยาน และการจ้างล่าม ดังนั้น แนวทางแก้ไขคือการปรับปรุง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการกระทำ �อันเป็น โจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ ดังเช่นตัวอย่างของประเทศเบลเยียมซึ่งแก้ไขนิยามการกระทำ �การเป็นโจร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=