รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 115 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ผู้เดียวเท่านั้นที่มีอำ �นาจดำ �เนินคดี โดยไม่สามารถส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปดำ �เนินคดีในศาลอื่นซึ่งรวมศาล ภูมิภาคหรือศาลพิเศษด้วยได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เกี่ยวกับโจรสลัดโซมาเลียได้กำ �หนดให้รัฐผู้ยึดเรือและจับกุมโจรสลัดสามารถส่งตัวผู้กระทำ �ผิดข้าม แดนไปดำ �เนินคดียังศาลอื่นได้ แต่ถึงกระนั้นบางรัฐก็อาจประสบปัญหาในทางปฏิบัติในการดำ �เนินการ อีกทั้งบางรัฐยังขาด กฎหมายภายในซึ่งให้อำ �นาจในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนฐานโจรสลัดไปยังศาลของรัฐอื่นได้ ๓๑ ทั้งนี้ การเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ๓๒ ทำ �ให้รัฐที่ทำ �การจับกุมลังเลและเลือกที่จะ ปล่อยโจรสลัดไปหลังจากการปลดอาวุธ โดยเฉพาะในกรณีที่การกระทำ �การเป็นโจรสลัดมิได้ส่งผล กระทบต่อรัฐที่ทำ �การจับกุม ทั้งนี้เนื่องจากสถานที่เกิดเหตุอยู่ห่างไกลจากบริเวณที่รัฐที่จับกุมมีเขต อำ �นาจรัฐทำ �ให้การจับกุมเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานบางประการได้ โดยเฉพาะ สิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิที่จะได้รับการเคารพต่อการมีความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็น เสรีภาพในการยึดถือและศรัทธาในศาสนา ตลอดจนการห้ามการลงโทษประหารชีวิต การห้ามการทรมาน การห้ามการเลือกปฏิบัติ โดยสิทธิพื้นฐานประการหนึ่งคือ เรื่องการควบคุมตัวผู้ ต้องสงสัยได้ไม่เกิน ๒ สัปดาห์ ก่อนที่จะต้องส่งตัวไปให้ศาลพิจารณาคดี ซึ่งทำ �ให้ในทางปฏิบัติ การ ควบคุมตัวเกินกรอบเวลาดังกล่าวอาจถูกพิจารณาว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ ดังตัวอย่างคดี Rigopoulos and Medveyev ซึ่งคำ �ตัดสินวันที่ ๑๒ มกราคม ค.ศ. ๑๙๙๙ และ ๑๐ กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๐๘ ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปชี้ว่า การดำ �เนินการเช่นนั้นเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ ของอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังมีเรื่อสิทธิที่จะไม่ถูกผลักดันกลับ (Non Refoulement) กล่าวคือ การห้ามส่งบุคคลกลับไปยังประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด อันตรายถึงชีวิต เพราะฉะนั้นการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปยังรัฐผู้ขออันอาจทำ �ให้ผู้ถูกส่งตัวได้รับอันตราย ต่อชีวิตรวมทั้งต้องทุกข์ทรมานจากการทรมานจึงย่อมขัดต่อหลักการของสิทธิมนุษยชน และได้ถูก โจรสลัดโซมาเลียยกเป็นข้อต่อสู้โดยอ้างว่าศาลโซมาเลียไม่มีการพิจารณาคดีที่มีประสิทธิภาพและ เป็นธรรม และบทลงโทษรุนแรงกว่าของประเทศที่พัฒนาแล้ว ๓๓ ๓๑ Barry Hart Dubner and Karen Greene, อ้างแล้ว, p. 450. ๓๒ Efthymios Papastavridis, op.cit ., pp. 190-196; S. Piedimonte Bodini, “Fighting Maritime Piracy under the European Convention on Human Rights”, European Journal of International Law, 2011, p. 829; D. Guilfoyle, “Counter-piracy Law Enforcement and Human Rights”, International Comparative Law Quarterly, 2010, p. 141; C. Laly-Chevalier, “Lutte contre la Piraterie Maritime et Droits de l’ Homme”, Revue Belge de Droit International , 2009, p. 5. ๓๓ Caroline Charlier, อ้างแล้ว, p. 40.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=