รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 7 ปิยนาถ บุนนาค ยังเพิ่มความระมัดระวังที่จะมิให้กระทบกระเทือนต่อวิถีการดำ �เนินชีวิตและการประกอบอาชีพของ ชาวมุสลิมตามหลักการในศาสนาและวัฒนธรรมอิสลาม พระองค์ทรงพยายามวางระเบียบข้อบังคับ ในการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดความกลมกลืนตามสภาพชุมชน มิให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าถูก บังคับกดขี่จากทางราชการ เพราะถ้าประชาชนถูกทำ �ให้เกิดความรู้สึกแบบนี้แล้ว ก็จะทำ �ให้เกิดความ แตกแยก รัฐบาลเองก็จะประสบความยากลำ �บากในการปกครอง ๑๙ ในรัชกาลที่ ๗ ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรง “สานต่อ” พระราโชบายการปกครองมณฑลปัตตานี เช่นเดียวกับสมเด็จพระบรมเชษฐา ธิราช พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้ารำ �ไพพรรณี พระบรมราชินีได้เสด็จพระราชดำ �เนินไปยังมณฑล ปัตตานีเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ โปรดให้ประชาชนชาวเมืองเข้าเฝ้ารับเสด็จโดยทั่วหน้ากัน จนเป็นที่กล่าวขานด้วยความประทับใจของชาวโคกโพธิ์ผู้รับเสด็จมาจนถึงปัจจุบัน ๒๐ สรุปได้ว่า นโยบายการปกครองชาวไทยมุสลิมในดินแดนส่วนที่เป็นหัวเมืองมลายู ประเทศราชเดิมในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงเห็นความสำ �คัญ ของดินแดนส่วนนี้ ในขณะเดียวกับที่ทรงตระหนักถึงลักษณะเฉพาะของพลเมืองในดินแดนดังกล่าว ด้วย จึงทรงวางหลักการปกครองไว้เป็นพิเศษดังจะเห็นได้จากกฎข้อบังคับสำ �หรับปกครองบริเวณเจ็ด หัวเมือง รศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) และหลักรัฐประศาสโนบายพร้อมกับพระบรมราชาธิบายประกอบ สำ �หรับข้าราชการที่จะปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ พ.ศ. ๒๔๖๖ ในขณะเดียวกันก็จะเห็นได้ว่ารัฐก็ได้ พยายามจะทำ �ให้ประชาชนในดินแดนส่วนนี้ตระหนักถึงความเป็นไทยและความจงรักภักดีต่อชาติ บ้านเมืองเช่นเดียวกับคนไทยในส่วนอื่น ๆ ของราชอาณาจักร ต่อมา ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบ ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ระบบเทศาภิบาลถูกยกเลิกไปจังหวัดแต่ละ จังหวัดรวมทั้งหัวเมืองมลายูดังกล่าวอยู่ใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งส่ง ข้าราชการไทยไปเป็นเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแทนเจ้าเมืองมลายูคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรม หรือปลดเกษียณ นับเป็นการยกเลิกวิธีเลือกสรรเจ้าเมืองจากผู้นำ �ท้องถิ่นดังที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม ๒๑ หัวเมืองดังกล่าวจึงถูกรวมเข้าอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรไทยโดยตรงนับแต่นั้นมา ๑๙ ภัคคินี เปรมโยธิน, กระบวนการบริหารราชการส่วนภูมิภาคกับการแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา ๒๕๑๙, หน้า ๑๗๓. ๒๐ ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร. (๒๕๕๖). มโนทัศน์เกี่ยวกับรัชกาลที่ ๗ เสด็จฯทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ปัตตานี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก (http://kingprajadhipokstudy.blogspot.com/๒๐๑๐/๐๖/๗_๐๙.html. ) วันที่สืบค้น ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖. ๒๑ นันทวรรณ ภู่สว่าง, ปัญหาชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้ , หน้า ๙.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=