รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 114 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน ๒.๒.๒ แนวทางแก้ไข แบ่งออกได้เป็นระดับระหว่างประเทศและระดับภายในประเทศ ๑) แนวทางแก้ไขปัญหาในระดับระหว่างประเทศ อาจแก้ไขได้โดยความร่วมมือระหว่าง ประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศเพื่อดำ �เนินคดีกับโจรสลัดโดยอาจมีรูป แบบซึ่งแตกต่างกันได้และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนดังจะได้อธิบายตามลำ �ดับต่อไปนี้ ก) การจัดตั้งศาลระหว่างประเทศ - ศาลภูมิภาค ตามตัวอย่างการแก้ไขปัญหาโจรสลัดโซมาเลีย ซึ่งจัดให้มีการตั้งศาลภูมิภาค ขึ้นมารองรับการแก้ไขปัญหาเพื่อดำ �เนินคดีและคุมขังโจรสลัดโซมาเลีย ทั้งนี้ศาลตั้งอยู่ในประเทศ เคนยาและประเทศเซเชลส์ ๒๙ - การดำ �เนินคดีโดยศาลพิเศษ แนวทางนี้ถูกเสนอโดยเลขาธิการสหประชาชาติเพื่อแก้ไขปัญหาโจรสลัดโซมาเลีย โดยมีรูป แบบหลายประการ ดังนี้คือ การจัดตั้งศาลโซมาเลียในอาณาเขตของรัฐที่สามในภูมิภาค เช่นที่เมืองอารูชา ประเทศ แทนซาเนีย ซึ่งเมื่อมีคำ �ตัดสินแล้วอาจส่งตัวนักโทษไปคุมขังที่กรุงโมกาดิชูของโซมาเลียต่อไป การจัดตั้งศาลภูมิภาคตามความตกลงของฝ่ายต่าง ๆ โดยการสนับสนุนของสหประชาชาติ การจัดตั้งศาลระหว่างประเทศโดยความตกลงของรัฐในภูมิภาคกับสหประชาชาติ การจัดตั้งศาลระหว่างประเทศโดยมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แม้จะยังไม่มีการจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นในปัจจุบัน แต่การจัดตั้งศาลนี้ย่อมทำ �ให้การบังคับใช้ กฎหมายในการดำ �เนินคดีและลงโทษผู้กระทำ �ผิดฐานโจรสลัดเป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็น วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีสำ �หรับการจับกุมตัวผู้กระทำ �ผิดในทะเลหลวงเพื่อส่งตัวไปขึ้นศาลพิเศษโดยไม่ ต้องนำ �ตัวผู้กระทำ �ผิดกลับไปขึ้นศาลภายในของประเทศของตนซึ่งสร้างภาระยุ่งยากมากกว่า ๓๐ ข) การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ใช้แก้ไขปัญหาการที่รัฐไม่ประสงค์จะใช้อำ �นาจรัฐ สากลเพื่อปราบปรามโจรสลัด จากการที่ UNCLOS 1982 มิได้บัญญัติเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนฐาน การกระทำ �การเป็นโจรสลัดไว้ ทำ �ให้เกิดปัญหาว่ารัฐผู้ยึดเรือและจับกุมผู้กระทำ �การเป็นโจรสลัดเป็น ๒๙ Advisory Council on International Affairs. อ้างแล้ว p. 49-50. ๓๐ Tullio Treves,” Piracy, Law of the Sea and Use of Force: Developments off the Coast of Somalia”, Vol. 20, No. 20, European Journal of International Law, 2009 , pp. 412-414; B. Vam Schaak, “crimen sine lege: Judicial Lawmaking at the Intersection of Law and Moral,” Georgetown Law Journal , 2008, p. 136.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=