รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 113 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ เกี่ยวข้องโดยตรงใด ๆ กับรัฐ รัฐก็อาจเพียงปลดอาวุธและปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยไปแทนที่จะจับกุมตัว มาดำ �เนินคดีต่อไป ๒๕ ๒) ความไม่เพียงพอและการขาดประสิทธิภาพตามกลไกของกฎหมายภายใน ๒๖ รัฐอาจไม่ดำ �เนินการเนื่องจากปราศจากกฎหมายภายในเพื่อรองรับปฏิบัติการ อีกทั้งยังขาด แคลนงบประมาณรวมทั้งกระบวนการที่เหมาะสมทางกฎหมายเพื่อปรับใช้เขตอำ �นาจรัฐสากลใน การปราบปรามโจรสลัดอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ การดำ �เนินคดีต้องอาศัยการนำ �ตัวผู้กระทำ � ผิดกลับมายังรัฐผู้ปฏิบัติการซึ่งอยู่ห่างไกลอันสร้างภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่าการดำ �เนินคดีอาญาภายใน ประเทศ เพราะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการนำ �ตัวกลับ ในการรวบรวมพยานหลักฐานที่ต้องใช้ใน การพิจารณาคดีซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ อันรวมถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางของ พยานเพื่อมาให้การจากต่างประเทศ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างล่ามให้แก่ผู้ต้องหา ดังนั้น รัฐที่กำ �ลังพัฒนาส่วนใหญ่ที่ขาดแคลนงบประมาณจึงมักเลือกที่จะไม่ผลักดันให้มีการดำ �เนินคดีให้ ถึงที่สุด ๒๗ นอกจากนี้ แม้แต่รัฐผู้มีส่วนได้เสีย เช่น รัฐสัญชาติของเรือที่ถูกโจมตี รัฐสัญชาติของเจ้าของ เรือ หรือรัฐเจ้าของทรัพย์สินบนเรือ และรัฐเจ้าของสัญชาติลูกเรือหรือรัฐเจ้าของสัญชาติของโจรสลัด เอง บางครั้งก็ยังไม่สมัครใจที่จะอ้างเขตอำ �นาจรัฐเพื่อดำ �เนินการปราบปรามโจรสลัด ดังตัวอย่างกรณี โจรสลัดโซมาเลีย ๒๘ เนื่องจากปัญหาในการดำ �เนินคดีและการลงโทษผู้กระทำ �ผิด โดยต้องอาศัยการ ร่วมมือระหว่างประเทศในการนำ �ตัวพยานบุคคลมาเบิกความในศาลที่มีการพิจารณาคดี ซึ่งพยานมัก เป็นลูกเรือที่ต้องออกเดินทางไปกับเรือเป็นระยะเวลานานจึงทำ �ให้ยากต่อการติดต่อให้มาเป็นพยาน ในศาล ๒๕ Barry Hart Dubner and Karen Greene, “On the Creation of a New Legal Regime to Try Sea Pirates”, Journal of Maritime Law & Commerce . Vol. 41, No. 3, July 2010, p. 449. ๒๖ Efthymios Papastavridis, op.cit. , p. 183; E.Kontorovich, “A Guantanamo on the Sea: The Difficulty of Prosecuting Pirates and Terrorists”, California Law Review, 2010, pp. 243-276; J. Ademun-Okede, “Jurisdiction over Foreign Pirates in Domestic Courts and Third States under International Law”, Journal of International Maritime Law , 2011, pp. 124-126; S. Hodgkinson, “International Law in Crisis: Seeking the Best Prosecution Model for Somali Pirates”, Case Western Reserve Journal of International Law , 2011, pp. 303-316; J. Landsidle, “Enhancing International Efforts to Prosecute Suspected Pirates”, Case Western Reserve Journal of International Law , 2011, pp. 317-323. ๒๗ กิตติ โอสถเจริญผล, เขตอำ �นาจรัฐสากลเหนืออาชญากรรมระหว่างประเทศ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๘๘. ๒๘ Caroline Charlier, Somali-Piracy: Unsuccessful Governance and Definition Deficiency bring about Practical Solutions, Master’s Program in Human Rights and Humanitarian Law, Lund University, Spring 2011, p. 39.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=