รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 112 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน สำ �หรับการใช้กำ �ลังในการบังคับใช้กฎหมาย ตามมาตรา ๕ ของ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการปราบ ปรามโจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ กำ �หนดให้เจ้าหน้าที่ทหารเรือมีอำ �นาจดำ �เนินการตามความจำ �เป็นเพื่อ ป้องกันและปราบปรามการกระทำ �อันเป็นโจรสลัด แต่มิได้ระบุมาตรการในการใช้กำ �ลังไว้ อันทำ �ให้ อาจเกิดปัญหาโต้แย้งเรื่องความชอบด้วยกฎหมายของมาตรการต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อปราบปรามได้ ดังนั้น จึงควรยึดแนวปฏิบัติของนานาชาติข้างต้นเป็นกรอบในการปฏิบัติการ ส่วนปัญหาเรื่องชุดรักษาความปลอดภัยติดอาวุธบนเรือสินค้า ตาม พ.ร.บ. เรือไทย พ.ศ. ๒๔๘๑ ไม่อนุญาตให้เรือสินค้าว่าจ้างชุดรักษาความปลอดภัยติดอาวุธประจำ �บนเรือสินค้า ทำ �ให้ เรือสินค้าไทยไม่อาจใช้มาตรการนี้เพื่อปกป้องตนเองได้โดยชอบ ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายภายใน ของประเทศอื่นจำ �นวนมาก เช่น เดนมาร์ก ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ดังนั้น จึงควรปรับปรุงกฎหมาย ให้อนุญาตให้เรือสินค้าไทยจัดชุดรักษาความปลอดภัยติดอาวุธบนเรือได้ โดยอาศัยแนวทางของต่าง ประเทศ เช่น เดนมาร์กที่อนุญาตให้ดำ �เนินการได้ โดยมีเงื่อนไขให้ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเรือ เจ้าของเรือ ชุดรักษาความปลอดภัย เส้นทางเดินเรือ รวมถึงมาตรการที่อาจใช้เพื่อตอบโต้โจรสลัด ๒.๒ ปัญหาในการปรับใช้เขตอำ �นาจรัฐสากลเหนือการกระทำ �อันเป็นโจรสลัดอันทำ �ให้รัฐ ไม่ประสงค์ที่จะใช้อำ �นาจปราบปรามโจรสลัด ตามที่หลักอำ �นาจรัฐสากลให้สิทธิแก่รัฐทั้งปวงในการนำ �ตัวโจรสลัดมาดำ �เนินคดีและลงโทษ ได้ตามกฎหมายภายในของรัฐผู้ดำ �เนินการ รัฐจึงมีดุลพินิจที่จะดำ �เนินการหรือไม่ แต่มิใช่พันธกรณี ซึ่งรัฐต้องกระทำ � ๒๓ ประกอบกับในทางปฏิบัติ การใช้เขตอำ �นาจรัฐสากลเพื่อดำ �เนินคดีและลงโทษ ผู้กระทำ �ผิดประสบปัญหาหลายประการจนอาจทำ �ให้รัฐเลือกที่จะไม่ดำ �เนินการ ๒๔ อันส่งกระทบโดย ตรงต่อประสิทธิภาพในการปราบปรามโจรสลัดเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ดังนั้นจึงสมควรพิจารณา สาเหตุของปัญหาและแนวทางในการแก้ไขตามลำ �ดับต่อไป ๒.๒.๑ สาเหตุของปัญหาอันทำ �ให้รัฐมิใช้อำ �นาจรัฐสากลเพื่อดำ �เนินการกับโจรสลัด ๑) การขาดผลประโยชน์โดยตรงหรือความเกี่ยวโยงกับการกระทำ �ผิด รัฐอาจปราศจาก ความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำ �ผิดจึงไม่มีผลประโยชน์ที่ต้องดำ �เนินการซึ่งสร้างภาระให้กับรัฐ เองโดยไม่จำ �เป็น กล่าวคือ หากผู้กระทำ �ผิดหรือเหยื่อผู้เสียหายหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องมิได้มีส่วน ๒๓ Efthymios Papastavridis, op.cit ., pp. 167-168. ๒๔ Ibid ., p. 169.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=