รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 111 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ความชอบด้วยกฎหมาย หรืออาจใช้วิธีการทำ �ความตกลงในระดับภูมิภาค หรือทวิภาคีระหว่างรัฐที่ เกี่ยวข้อง เพื่ออนุญาตให้มีการขยายขอบเขตการใช้สิทธิไล่ตามติดพันเพื่อปราบปรามโจรสลัด พร้อม กำ �หนดเงื่อนไขของการปฏิบัติการอย่างชัดเจนเช่นการส่งสัญญาณเตือนรัฐชายฝั่งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อขออนุญาต ตลอดจนการส่งมอบตัวผู้กระทำ �ผิดให้แก่รัฐชายฝั่งเป็นผู้ดำ �เนินคดีโดยทันทีเพื่อมิให้ กระทบต่อเขตอำ �นาจของรัฐชายฝั่งในทางอาญา สำ �หรับปัญหาการใช้กำ �ลัง แม้ปราศจากรายละเอียดใน UNCLOS 1982 แต่แนวปฏิบัติ ระหว่างประเทศกำ �หนดขอบเขตให้ใช้กำ �ลังในกรณีจำ �เป็นและในขอบเขตที่จำ �กัดเท่านั้น กล่าวคือ จากแนวทางคำ �วินิจฉัยของศาลกฎหมายทะเลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย UNCLOS 1982 ในคดี M/V “Saiga” (no. 2) กำ �หนดให้หลีกเลี่ยงการใช้กำ �ลังเท่าที่จะเป็นไปได้ และหากจำ �เป็นก็ต้องใช้อย่างสมเหตุสม ผล ๒๒ รวมทั้งคดี “I’m Alone and Red Crusader” ซึ่งศาลวินิจฉัยให้ต้องเริ่มจากการส่งสัญญาณ หากไม่ยอมหยุดให้เริ่มยิ่งข้ามตัวเรือเพื่อเตือน แล้วจึงจะใช้กำ �ลังเป็นทางเลือกสุดท้ายเพื่อเข้าจับกุม และยึดเรือ นอกจากนี้ ตามหลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำ �ลังและอาวุธปืนโดย เจ้าหน้าที่บังคับการตามกฎหมาย (Basic Principle on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials) ค.ศ. ๑๙๙๐ ข้อ ๕ ของหลักการนี้ระบุให้ใช้อาวุธปืนได้เมื่อไม่สามารถ หลีกเลี่ยงได้และต้องใช้เพื่อการป้องกันตัวเท่านั้น ในส่วนที่เกี่ยวกับชุดคุ้มครองความปลอดภัยติดอาวุธบนเรือสินค้า คณะทำ �งานเกี่ยวกับ การดำ �เนินการด้านกฎหมายและหลักปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมติของคณะมนตรีความ มั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อประสานงานเรื่องการปราบปรามโจรสลัดในโซมาเลีย ได้กำ �หนด แนวทางที่ชัดเจนขึ้นให้มีรูปแบบและวิธีการที่เป็นไปในทางเดียวกันซึ่งเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้อาวุธให้ เป็นไปตามเงื่อนไขการป้องกันตนเองตามกฎหมายระหว่างประเทศ สอดคล้องกับหลักความจำ �เป็น และการใช้กำ �ลังตามหลักสัดส่วนที่เหมาะสม ๒) แนวทางแก้ไขปัญหาระดับภายในประเทศ สำ �หรับปัญหาการไล่ตามติดพันย้อนกลับ พ.ร.บ. เกี่ยวกับการปราบปรามโจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิการไล่ตามติดพัน ย้อนกลับ ดังนั้นการดำ �เนินการจะกระทำ �ได้ก็ต่อเมื่อมีความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับต่าง ๆ ในรูปของความตกลงระหว่างประเทศซึ่งให้สิทธิในการดำ �เนินการ ๒๒ Robin Geib and Anna Petri, op.cit. , p. 69.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=