รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 110 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน ปัญหาโจรสลัดบริเวณอ่าวเอเดนและน่านน้ำ �นอกชายฝั่งโซมาเลียซึ่งมีบริเวณพื้นที่กว้างขวาง ทำ �ให้การลาดตระเวนของกองกำ �ลังเพื่อป้องกันและคุ้มครองเรือสินค้าไม่อาจกระทำ �ได้อย่างทั่วถึงใน ทางปฏิบัติ ดังนั้นเรือเดินทะเลเอกชนจึงต้องหาทางป้องกันตนเองด้วยการใช้ชุดคุ้มครองเรือติดอาวุธ (armed guard) ซึ่งแม้ว่าจะอ้างสิทธิตามหลักการอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัย ของชีวิตในทะเล (International Convention for the Safety of Life at Sea–SOLAS) และ ประมวลกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยของเรือและท่าเรือ (International Ship and Port Security Code) ซึ่งให้เจ้าของเรือใช้ดุลพินิจในการรักษาความปลอดภัยของเรือเมื่อมีภัย คุกคามที่มีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งทำ �ให้อาจดำ �เนินการใช้สิทธิป้องกันตัวตามหลักกฎหมายอาญาของรัฐ เจ้าของเรือนั้นได้ แต่เนื่องจากกฎหมายภายในของแต่ละรัฐในเรื่องนี้แตกต่างกันออกไป ประเด็นเรื่อง การจัดชุดคุ้มครองเรือติดอาวุธจึงยังปราศจากข้อยุติที่ชัดเจน ซึ่งหลายประเทศสนับสนุนแนวทางนี้ เช่น ฝรั่งเศส เซเชลส์ ๒๑ ในขณะที่สเปนเห็นว่าการใช้มาตรการนี้อาจกระตุ้นให้การใช้กำ �ลังทวีความ รุนแรงยิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้นเรือที่มีอาวุธจะเสียสิทธิการผ่านโดยสุจริตตามมาตรา ๑๙.๒ ของ UNCLOS 1982 ไปด้วย ๒.๑.๒ แนวทางแก้ไข แบ่งออกได้เป็นระดับระหว่างประเทศและระดับภายในประเทศ ๑) แนวทางแก้ไขปัญหาในระดับระหว่างประเทศ สำ �หรับปัญหาการไล่ตามติดพันย้อน กลับต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวคือ เมื่อรัฐไม่อาจใช้สิทธิไล่ตามติดพันเข้าไป ในทะเลอาณาเขตของรัฐอื่นได้ ในขณะที่รัฐชายฝั่งก็ไม่สามารถดูแลปราบปรามโจรสลัดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือในระดับต่าง ๆ โดยระดับสากลองค์การสหประชาชาติ ได้ออกมติที่มีค่าบังคับรัฐสมาชิกตามมาตรา ๒๕ ของกฎบัตร กล่าวคือ ตามข้อมติที่ ๑๘๑๖ ให้รัฐสมาชิกร่วมมือกับรัฐบาลชั่วคราวของโซมาเลียในการปราบปรามโจรสลัดโดยอนุญาตให้กอง กำ �ลังของรัฐสมาชิกเข้าปฏิบัติการในน่านน้ำ �ของโซมาเลียได้ โดยต้องดำ �เนินไปอย่างสอดคล้องกับ กฎหมายระหว่างประเทศและ UNCLOS 1982 เมื่อมีการแจ้งล่วงหน้าไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ และด้วยความเห็นชอบของโซมาเลีย อันทำ �ให้การใช้สิทธิไล่ตามติดพันเข้าไปในทะเลอาณาเขตของ โซมาเลียมิเป็นการล่วงละเมิดอธิปไตยของโซมาเลีย แต่กรณีนี้ปรับใช้เฉพาะกับโซมาเลียเท่านั้น เพราะฉะนั้นหากเป็นบริเวณอื่นก็ต้องใช้กระบวนการของสหประชาชาติในทำ �นองเดียวกันเพื่อให้เกิด ๒๑ วัลย์ลดา ลิ่มศิลา. “ปัญหาและแนวทางการป้องกันปราบปรามการกระทำ �อันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธบริเวณ อ่าวเอเดนและน่านน้ำ �นอกชายฝั่งประเทศโซมาเลีย.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๑๗.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=