รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 109 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ กรณีนี้ว่า การไล่ตามติดพันย้อนกลับจะทำ �ให้สิทธิไล่ตามติดพันสิ้นสุดลง ๑๗ เพราะรัฐผู้ใช้สิทธิไม่อาจ ละเมิดอำ �นาจอธิปไตยของรัฐชายฝั่งอื่นได้ หากไม่ได้รับอนุญาต กรณีนี้สภาพภูมิศาสตร์ในบริเวณ ที่เกิดปัญหาจึงมีความสำ �คัญอย่างยิ่งในทางปฏิบัติสำ �หรับการปราบปราม เช่น โจรสลัดในช่องแคบ มะละกาซึ่งมีความแคบมากทำ �ให้เรือโจรสลัดอาจเข้าสู่ทะเลอาณาเขตของรัฐที่สามได้ง่าย ทำ �ให้ การใช้สิทธิไล่ตามติดพันต้องระงับลง หรือกรณีโจรสลัดโซมาเลีย ซึ่งชายฝั่งของประเทศโซมาเลียมี ความยาวถึงสามพันกิโลเมตร ทำ �ให้โจรสลัดมีโอกาสมากที่จะแล่นเรือหนีเข้าทะเลอาณาเขตได้ง่าย เช่นกัน ประกอบกับการที่โซมาเลียขาดกองกำ �ลังที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยในทะเลอาณาเขตของ ตนจึงทำ �ให้บริเวณเขตทางทะเลของโซมาเลียกลายเป็นที่หลบภัยของเรือโจรสลัดไปโดยปริยาย อันทำ �ให้การติดตามปราบปรามโจรสลัดไม่ประสบผลเท่าที่ควร ๒) ปัญหาการใช้กำ �ลังใน UNCLOS 1982 มิได้กำ �หนดมาตรการในการใช้กำ �ลังเข้าปราบ ปรามโจรสลัดไว้อย่างชัดเจนทำ �ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบของมาตรการที่ชอบด้วย กฎหมาย กล่าวคือ แม้มาตรา ๑๐๕ ของ UNCLOS 1982 อนุญาตให้รัฐยึดเรือโจรสลัดหรือเรือที่ถูกโจรสลัด ควบคุมได้ แต่การขาดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการและขอบเขตในการใช้ทำ �ให้มีการดำ �เนินการที่ แตกต่างกันไป เช่น เรือรบไอเอ็นเอส ทาบาร์ ของอินเดียซึ่งลาดตระเวนอยู่แถวชายฝั่งโอมานเข้าใจ ว่าเรือประมง “เอกวัฒน์ นาวา ๕” ของไทยซึ่งชักธงประเทศคีรีบาติ เป็นเรือโจรสลัดเพราะเมื่อเรียก ตรวจกลับถูกยิงปืนเข้าใส่ จึงทำ �การยิงตอบโต้จนเรือดังกล่าวจมลงทำ �ให้ลูกเรือไทยตายและหาย สาบสูญ ๑๔ คน โดยมีลูกเรือสัญชาติกัมพูชารอดตายเพียงคนเดียว ๑๘ ทั้งที่ตามความเป็นจริงเป็น เรือประมงที่ถูกโจรสลัดควบคุมและจับลูกเรือเป็นตัวประกัน เพราะฉะนั้นในกรณีนี้อินเดียย่อมไม่ อาจปฏิเสธความรับผิดชอบระหว่างประเทศสำ �หรับความเสียหายดังกล่าวได้ ตามมาตรา ๑๐๖ และ ๑๑๐ (๓) ของอนุสัญญากฎหมายทะเลแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. ๑๙๘๒ รวมทั้งตามกฎหมายระหว่าง ประเทศทั่วไป ๑๙ ในขณะที่เรือ KNM Fridtjof Nansen ของกองทัพเรือนอร์เวย์ ซึ่งถูกเรือประมงยิง ได้ตอบโต้ตามแนวปฏิบัติของสหภาพยุโรปโดยได้ใช้อาวุธเบาป้องกันตัวและถอนตัวไปเท่านั้น ๒๐ ๑๗ Lucas Bento, “Toward an International Law of Piracy sui generis; How the Dual Nature of Maritime Piracy Law enables Piracy to flourish”, Vol. 29 No. 2, Berkeley Journal of International Law , 2011, p. 420. ๑๘ ไทยรัฐ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๑. ๑๙ Efthymios Papastavridis, op.cit ., p. 181. ๒๐ ยุทธนา ฟักผลงาม.“ปัญหาของโลก...ต้องตำ �รวจโลก”. นาวิกศาสตร์, ปีที่ ๙๔ ฉบับที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔, หน้า ๑๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=