รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 108 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน ๒) นายเรือหรือเจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือเจ้าหน้าที่กงสุลของรัฐเจ้าของธงเรือได้ร้องขอจาก รัฐชายฝั่งและเมื่อเป็นกรณีที่จำ �เป็นเพื่อปกป้องการลักลอบค้ายาเสพติดให้โทษหรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตประสาท ๑๕ ทั้งนี้ รัฐชายฝั่งไม่อาจดำ �เนินการได้ หากการกระทำ �ผิดเกิดขึ้นก่อนที่เรือใช้สิทธิผ่านเข้ามา ในทะเลอาณาเขตหรือรัฐชายฝั่งและเรือมิได้เข้าไปในท่าเรือหรือน่านน้ำ �ภายใน เว้นแต่ การกระทำ � ผิดนอกทะเลอาณาเขตเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐชายฝั่งเกี่ยวกับการคุ้มครองสภาพแวดล้อมหรือ การคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในเขตเศรษฐกิจจำ �เพาะ ในกรณีที่เรือซึ่งกระทำ �ผิดพยายามหลบหนีจากทะเลอาณาเขต ตามหลักของการไล่ตาม ติดพัน UNCLOS 1982 ให้สิทธิแก่รัฐชายฝั่งที่จะไล่ติดตามเรือนั้นเมื่อมีเหตุอันสมควรที่จะเชื่อได้ว่า เรือนั้นได้ละเมิดกฎหมายและข้อบังคับของรัฐชายฝั่ง การไล่ติดตามต้องเริ่มต้นเมื่อเรือต่างชาติอยู่ ภายในน่านน้ำ �ภายใน น่านน้ำ �หมู่เกาะ ทะเลอาณาเขตหรือเขตต่อเนื่องของรัฐผู้ไล่ติดตามและกระทำ � ต่อได้นอกทะเลอาณาเขตหรือเขตต่อเนื่อง หากการไล่ติดตามมิได้ขาดตอนลง โดยสิทธิไล่ติดตามปรับ ใช้ได้เช่นเดียวกับในกรณีการกระทำ �ผิดของเรือต่างชาติที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจจำ �เพาะ เขตไหล่ทวีปของ รัฐชายฝั่ง สิทธิดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อเรือที่ถูกไล่ตามได้เข้าไปในทะเลอาณาเขตของรัฐเจ้าของธงเรือ นั้นหรือเข้าไปในทะเลอาณาเขตของรัฐที่สาม เนื่องจากการไล่ตามในเขตดังกล่าวย่อมละเมิดอำ �นาจ อธิปไตยของรัฐชายฝั่งอื่น ๒.๑.๑ สภาพปัญหา ในทางปฏิบัติ การใช้มาตรการเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากในกรณี ต่าง ๆ ดังนี้ ๑) ปัญหาในทางปฏิบัติในการไล่ตามติดพันย้อนกลับ (Reverse Hot Pursuit) การใช้สิทธิไล่ ตามติดพันเรือโจรสลัดจากทะเลอาณาเขตของรัฐชายฝั่งเข้าไปในทะเลหลวงเพื่อปราบปรามผู้กระทำ � ผิดเป็นสิ่งที่ทำ �ได้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากในทะเลหลวงทุกรัฐมีเขตอำ �นาจในการไล่ ตามและจับกุมโจรสลัด ๑๖ แต่การไล่ตามติดพันจากทะเลหลวง เขตเศรษฐกิจจำ �เพาะ เขตต่อเนื่องหรือ จากบริเวณที่อยู่นอกเขตอำ �นาจของรัฐอื่นใดเพื่อหลบหนีเข้าไปในทะเลอาณาเขตของรัฐอื่นซึ่งเรียก ๑๕ จตุรนต์ ถิระวัฒน์. อาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย : ปัญหากฎหมายในทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและ ประชาคมระหว่างประเทศ, พิมพ์ครั้งที่ ๒ แก้ไขเพิ่มเติม, สำ �นักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ๒๕๔๑, หน้า ๒๑. ๑๖ Douglas Guilfoyle. Shipping Interdiction and the Law of the Sea . Cambridge University Press, 2009, p. 19.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=