รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 107 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ๒.๑ ปัญหาในทางปฏิบัติสำ �หรับการใช้มาตรการปราบปรามต่าง ๆ อนุสัญญากฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ ได้ระบุมาตรการที่ให้สิทธิเรือรบหรือเรือซึ่งมีเครื่องหมายชัด แจ้งและบ่งบอกว่าปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลเพื่อขึ้นตรวจเรือ ค้นเรือ จับกุมรวมทั้งยึดเรือ และไล่ตาม ติดพันเรือที่กระทำ �ผิดดังนี้ การขึ้นตรวจเรือและการค้นเรือ (Boarding and Searching) ตามหลักเสรีภาพ ในทะเลหลวงซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่เสรีซึ่งเรือของทุกรัฐสามารถเดินทางได้ อย่างอิสระ เรือรบของรัฐใดรัฐหนึ่งจึงไม่อาจใช้สิทธิขึ้นตรวจและค้นเรือของอีกรัฐได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณียกเว้น อนุสัญญากฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ มาตรา ๑๑๐ (๑) เอ ได้ให้อำ �นาจแก่เรือรบของรัฐหรือเรือที่มีเครื่องหมายแสดงชัดแจ้งว่าใช้ในงานของรัฐบาลให้หยุดเรือ เพื่อตรวจค้นหากมีเหตุอันควรสงสัยว่าเรือนั้นกระทำ �การเป็นโจรสลัด หรือกระทำ �การค้าทาส หรือ เรือนั้นปราศจากสัญชาติ หรือเมื่อไม่ยอมแสดงธงเรือของตน การตรวจสอบครอบคลุมเอกสารราย ละเอียดของเรือรวมทั้งสัญชาติเรือตลอดจนสินค้าบนเรือ ในทางปฏิบัติ โจรสลัดในปัจจุบัน เช่น กรณีของโซมาเลีย ใช้เรือเล็กซึ่งมีความเร็วสูงแต่ติด อาวุธเบาซึ่งมีลักษณะคล้ายเรือประมงในบริเวณดังกล่าว ทำ �ให้ยุ่งยากต่อการประเมินว่าเมื่อใดจึงจะ มีเหตุอันควรสงสัย การจับกุมและยึดเรือ (Arrest and Seizing) มาตรา ๑๐๕ ของ UNCLOS 1982 ให้อำ �นาจแก่รัฐทั้งปวงในการจับกุมและยึดเรือโจรสลัดได้ รวมถึงเรือซึ่งถูกยึดไปเพื่อกระทำ �การเป็นโจรสลัดและอยู่ภายใต้การควบคุมของโจรสลัดที่พบอยู่ใน ทะเลหลวงหรือนอกเขตอำ �นาจของรัฐใดรัฐหนึ่ง และยังมีอำ �นาจจับกุมบุคคลและยึดทรัพย์สินบนเรือ นั้นได้ด้วยในบริเวณดังกล่าว การไล่ตามติดพัน (Hot Pursuit) มาตรา ๑๑๑ ของ UNCLOS 1982 วางหลักการไว้ให้รัฐชายฝั่งมีอำ �นาจเหนือคดีหรือการ กระทำ �ผิดที่เกิดขึ้นในทะเลอาณาเขตของตน แต่หากเป็นการกระทำ �ผิดทางอาญาบนเรือต่างชาติ รัฐเจ้าของสัญชาติเรือจะมีเขตอำ �นาจทางอาญาเหนือการกระทำ �ผิดนั้น โดยรัฐชายฝั่งไม่อาจใช้อำ �นาจ ทางอาญาเพื่อดำ �เนินคดีสำ �หรับการกระทำ �บนเรือต่างชาติในขณะที่ใช้สิทธิผ่านทะเลอาณาเขตของ ตน เว้นแต่กรณีที่ ๑) ผลของการกระทำ �ความผิดอาญานั้นขยายไปถึงรัฐชายฝั่ง หรือกระทบต่อความสงบสุข หรือความสงบเรียบร้อยของทะเลอาณาเขต

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=