รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 106 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน มาตรา ๑๓๕/๓ กำ �หนดความผิดของผู้สนับสนุนการกระทำ �ต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้ ส่วนมาตรา ๑๓๕/๔ กำ �หนดความผิดให้ครอบคลุมบุคคลซึ่งอยู่ในรายการของประกาศคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติ บทบัญญัติเหล่านี้อาจนำ �มาปรับใช้กับเรื่องโจรสลัดได้โดยไม่ต้องคำ �นึงถึงวัตถุประสงค์ส่วน ตัวหรือจำ �นวนเรือที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ �ผิด สำ �หรับการปรับปรุงนิยามตามแนวปฏิบัติของต่างประเทศ ควรยึดแนวทางของประเทศ อังกฤษหรือสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่กำ �หนดให้ต้องมีเรือเข้าเกี่ยวข้องอย่างน้อย ๒ ลำ � อันจะทำ �ให้ปรับ ใช้ได้ในกรณีการกบฏในเรือ การยึดหรือควบคุมเรือโดยบุคคลที่อยู่บนเรือนั้นเอง ๒. ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติเพื่อปราบปรามโจรสลัด ตามหลักการแล้ว ทะเลหลวงเป็นบริเวณพื้นที่ซึ่งไม่ตกอยู่ภายใต้อธิปไตยของรัฐหนึ่งรัฐใด เรือจะอยู่ภายใต้เขตอำ �นาจของรัฐเจ้าของธงเรือหรือรัฐเจ้าของสัญชาติเรือ ซึ่งสามารถปรับใช้ กฎหมายของตนกับบุคคล เหตุการณ์ รวมทั้งทรัพย์สิน เพื่อนำ �ตัวบุคคลบนเรือมาดำ �เนินคดีในศาล ของตน ตลอดจนมีอำ �นาจบังคับใช้กฎหมายของตนเพื่อลงโทษการฝ่าฝืนกฎหมายของตน อย่างไร ก็ตาม ข้อยกเว้นที่สำ �คัญคือ ในกรณีการกระทำ �การเป็นโจรสลัดซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและประชาคมระหว่างประเทศ ดังนั้น กฎหมายระหว่างประเทศจึงให้ อำ �นาจแก่รัฐต่าง ๆ ไม่เพียงเฉพาะรัฐเจ้าของธงเรือที่จะจับกุมตัวผู้กระทำ �ผิดเพื่อดำ �เนินคดีและ ลงโทษปราบปรามได้แม้รัฐที่ดำ �เนินการจะไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับการกระทำ �ผิดนั้นก็ตาม ตามหลักเขตอำ �นาจสากล (Universal Jurisdiction) ของรัฐ ๑๔ การดำ �เนินการตามหลักนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อให้การปราบปรามโจรสลัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการดำ �เนินการปราบปรามโจรสลัด รัฐผู้ปฏิบัติต้องกระทำ �โดยสอดคล้องกับ หลักกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งกำ �หนดขอบเขตของการใช้มาตรการบังคับให้สมเหตุสมผลแต่ก็ก่อ ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้หลายประการซึ่งสมควรศึกษาก่อนที่จะพิจารณาปัญหาที่เกิดจากการที่ รัฐไม่ประสงค์จะใช้อำ �นาจปราบปรามและแนวทางในการแก้ไขตามลำ �ดับ ๑๔ Yoshifumi Tanaka, op.cit ., pp. 358; M.D.Evans (ed.), International Law, 2nd edition, Oxford University Press, 2006, p. 637; P.-M. Dupuy, Droit International Public, 8th edition, Paris, Dalloz, 2006, pp. 782-783.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=