รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 105 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ นอกจากนี้ ในมาตรา ๔ ยังระบุให้ต้องเป็นการกระทำ �โดยผู้อยู่บนเรือลำ �หนึ่งต่อเรืออีกลำ �หนึ่ง โดยมิใช่บุคคลซึ่งอยู่บนเรือเป็นผู้กระทำ �การยึดเรือหรือควบคุมเรือ อันทำ �ให้ความผิดซึ่งเกี่ยวข้องกับ เรือลำ �เดียวกัน เช่น การกบฏโดยพนักงานหรือผู้โดยสารบนเรือไม่เข้าองค์ประกอบของการกระทำ � เป็นโจรสลัดตามกฎหมายนี้ ยิ่งกว่านั้นมาตราเดียวกันนี้กำ �หนดให้การกระทำ �ผิดต้องเกิดขึ้นในทะเลหลวงหรือเขต เศรษฐกิจจำ �เพาะเท่านั้นซึ่งไม่ครอบคลุมการกระทำ �ผิดในปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่นอก เหนือจากเขตเหล่านี้ กล่าวคือบางครั้งยังกระทำ �ในทะเลอาณาเขตด้วยซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวาง เช่น กรณีชายฝั่งของโซมาเลีย ทำ �ให้การกระทำ �อาจไม่เข้าองค์ประกอบของกฎหมาย แนวทางแก้ไขสำ �หรับประเทศไทย ควรกระทำ �ควบคู่กันไปใน ๒ แนวทาง ทั้งการปรับใช้ บทบัญญัติของกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ และการปรับปรุงกฎหมายให้รองรับตามแนวทางของต่าง ประเทศ ๑๓ ดังนี้คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปรับใช้กฎหมายต่าง ๆ นั้น มาตรา ๗ (๓) ของประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งกระทำ �ในทะเลหลวงมีลักษณะใกล้เคียงกับการกระทำ �การเป็น โจรสลัด กล่าวคือ ความผิดฐานชิงทรัพย์ (มาตรา ๓๙๙ ประมวลกฎหมายอาญา), ความผิดฐานปล้น ทรัพย์ (มาตรา ๓๔๐ ประมวลกฎหมายอาญา) ดังนั้น จึงเป็นบทบัญญัติที่ใช้หลักอำ �นาจสากลของรัฐ ซึ่งทำ �ให้รัฐอาจลงโทษผู้กระทำ �ผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งครอบคลุมในทะเลหลวงได้ โดยไม่ต้องคำ �นึง ถึงสัญชาติของผู้กระทำ �ผิดหรือของผู้เสียหาย นอกจากนี้ ยังอาจใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๕/๑-๑๓๕/๔ เกี่ยวกับการก่อการ ร้ายและการจับตัวประกัน โดยมาตรา ๑๓๕/๑ กล่าวถึงการใช้กำ �ลังประทุษร้ายหรือที่ก่อให้เกิด อันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือเสรีภาพของบุคคล และการกระทำ �การให้เกิดความเสียหายอย่างร้าย แรงต่อระบบขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคมหรือโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ ตลอดจนการ ทำ �ความเสียหายต่อทรัพย์สินของรัฐใดรัฐหนึ่งหรือต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อมอันน่าจะหรือก่อให้เกิด ความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำ �คัญ เมื่อการกระทำ �เหล่านี้มีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับ รัฐบาลไทย รัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความ หวาดกลัวในหมู่ประชาชน ๑๓ ไกรวุฒิ จริยากาญจนา, อ้างแล้ว, น. ๔๓-๔๕.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=