รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 6 พระมหากษัตริย์กับประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสมัยประชาธิปไตย ๑๕ ดูรายละเอียดใน กองประสานราชการ กรมการปกครอง , สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เอกสารประกอบการศึกษาอบรม ภาษามลายูแก่ข้าราชการจังหวัดชายแดนใต้, พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๒ หน้า ๕๔-๕๕. ๑๖ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๕๖-๕๗. ๑๗ ดูรายละเอียดใน กองประสานราชการ กรมการปกครอง, สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ เอกสารประกอบการศึกษาอบรม ภาษามลายูแก่ข้าราชการจังหวัดชายแดนใต, พระนคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, ๒๕๑๒ หน้า ๕๕. ๑๘ เพิ่งอ้าง. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำ �เนินไปยังอำ �เภอตากใบ เมือง นราธิวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ด้วย ต่อมายังได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาวางหลักรัฐประศาสโนบาย สำ �หรับข้าราชการผู้ปฏิบัติหน้าที่ในมณฑลปัตตานี ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ซึ่งมีอยู่ด้วย กัน ๖ ข้อ พร้อมกับคำ �อธิบายประกอบเพิ่มเติมอีก ๖ ประการ ๑๕ สาระสำ �คัญคือให้ยกเลิกหรือ แก้ไขระเบียบการหรือวิธีปฏิบัติการที่ทำ �ให้พลเมืองรู้สึกว่าเป็นการเบียดเบียน กดขี่ศาสนาอิสลาม ส่วนระเบียบการที่จะคิดจัดทำ �ขึ้นใหม่ก็ต้องไม่ขัดต่อศาสนาอิสลาม ต้องไม่เบียดเบียน ดูถูก หรือ กระทำ �การที่เป็นผลเสียหายต่อการดำ �เนินชีวิตและการประกอบอาชีพของราษฎร ดังข้อความตอน หนึ่งว่า “…การใช้ความระมัดระวังในข้อนี้ ควรจะนึกให้กว้าง ๆ ถึง การที่เกี่ยวกับลัทธิศาสนาประกอบด้วย เช่น วันศุกร์ตามธรรมดา… จะต้องไปนั่งฟังเทศน์ในสุเหร่า เมื่อจะมีการเรียกร้องบังคับให้กระทำ � การใด ๆ แล้ว ถ้าพอจะหลีกเลี่ยงเปลี่ยนวันไปได้ก็ควรละเว้นเสีย หรืออีกอย่างหนึ่ง เช่น ในระหว่างเวลาปอซอ (ถือบวช) กิจการบาง อย่างที่ควรจะผ่อนผันได้ ก็ควรผ่อนผันให้พอดีพอควรแก่ฤดูกาล ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น…” ๑๖ ส่วนในด้านคุณสมบัติของข้าราชการที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ในมณฑล ปัตตานีก็มีหลักว่า “…พึงเลือกเฟ้นแต่คนมีนิสัยซื่อสัตย์ สุจริต สงบเสงี่ยม เยือกเย็น ไม่ใช่สักแต่ว่าส่ง ไปบรรจุให้เต็มตำ �แหน่ง หรือ ส่งไปเป็นการลงโทษ เพราะเลว…” ๑๗ เมื่อจะส่งข้าราชการดังกล่าวไปก็ต้องสั่งสอนชี้แจงให้รู้ลักษณะทางการอันจะพึงประพฤติ ระมัดระวัง…ผู้ใหญ่ในท้องที่พึงสอดส่องฝึกฝนอบรมกันต่อ ๆ ไปในคุณธรรมเหล่านั้นเนือง ๆ ไม่ใช่แต่ คอยให้พลาดพลั้งลงไปก่อนแล้วจึงจะว่ากล่าวโทษ” ๑๘ พระราชหัตถเลขาแสดงหลักรัฐประศาสโนบายสำ �หรับการปฏิบัติราชการในมณฑลปัตตานี พร้อมกับพระบรมราชาธิบายประกอบข้างต้นแสดงให้เห็นว่าองค์พระประมุขซึ่งเป็นผู้นำ �ของรัฐบาล ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงเอาพระทัยใส่ในการปกครองชาวไทยมุสลิมในมณฑลปัตตานีเป็น อย่างมาก โดยนอกเหนือจากการปกครองดูแลชาวไทยมุสลิมในฐานะพลเมืองของประเทศแล้ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=