รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 104 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน เงินจากรายได้ของอาชญากรรมเหล่านี้ เมื่อการกระทำ �ผิดมีลักษณะข้ามชาติและเกี่ยวข้องกับ กลุ่มอาชญากรรมที่จัดตั้งขึ้นอย่างน้อย ๓ คน และเมื่อโจรสลัดเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงซึ่ง ถูกกระทำ �โดยบุคคลที่เข้าร่วมในกลุ่มอาชญากรรมที่ถูกจัดตั้งขึ้น หรือเมื่อโจรสลัดฟอกเงินจาก รายได้ของอาชญากรรมเหล่านี้ รัฐภาคีมีสิทธิดำ �เนินคดี ยึดทรัพย์และรายได้จากการกระทำ �ผิด รวมถึงทรัพย์สิน อุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่น ที่ใช้หรือมุ่งไว้ใช้สำ �หรับการกระทำ �ผิดเช่นนี้ โดยรัฐภาคีมี พันธกรณีต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือดำ �เนินคดี อย่างไรก็ตาม แม้พัฒนาการอย่างต่อเนื่องของกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศตามสนธิสัญญา ต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นอาจนำ �มาใช้อุดช่องว่างในการปราบปรามโจรสลัดได้ แต่ข้อจำ �กัดทั่วไปที่ สำ �คัญยิ่งคือการกระทำ �ความผิดที่อ้างถึงในสนธิสัญญาเหล่านี้ ซึ่งอาจปรับใช้ได้ในกรณีโจรสลัดไม่ถือ เป็นการกระทำ �ความผิดที่อยู่ภายใต้เขตอำ �นาจรัฐสากล เนื่องจากเป็นผลจากสนธิสัญญาซึ่งตามหลัก การแล้วจะผูกพันเฉพาะระหว่างรัฐภาคีฝ่ายต่าง ๆ ในสนธิสัญญาเท่านั้น ดังนั้น แม้รัฐส่วนใหญ่จะเข้า เป็นภาคีในอนุสัญญา เช่น SUA กล่าวคือ ๑๕๖ รัฐ แต่หากรัฐที่เกี่ยวข้องไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีก็ย่อม ปราศจากพันธกรณีที่ต้องดำ �เนินการแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นในระดับระหว่างประเทศแล้วต้องอาศัย เจตนารมณ์ทางการเมืองในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะระหว่างประเทศเช่นเรื่องนี้จึงจะ สัมฤทธิ์ผลได้ ๑.๒.๒ ปัญหาในกฎหมายไทยและแนวทางแก้ไข ไทยได้ร่วมลงนามใน UNCLOS 1982 ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ และได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีฝ่ายในอนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นประเทศภาคีลำ �ดับที่ ๑๖๒ ทำ �ให้ในอาเซียนมีเพียงกัมพูชาเท่านั้นที่ยัง ไม่ได้เข้าเป็นภาคี ๑๒ ทั้งนี้องค์ประกอบของนิยามการกระทำ �การเป็นโจรสลัดตาม พ.ร.บ. ป้องกัน และปราบปรามการกระทำ �การเป็นโจรสลัด พ.ศ. ๒๕๓๔ มีเนื้อหาใกล้เคียงกับที่บัญญัติไว้ใน UNCLOS 1982 ทำ �ให้การปรับใช้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ การที่มาตรา ๔ ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำ �การเป็นโจรสลัด กำ �หนดให้ในแง่ของวัตถุประสงค์ของการกระทำ �ผิด การกระทำ �ต้องมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อ วัตถุประสงค์ส่วนตัวของผู้กระทำ �มิใช่ด้านการเมือง ทำ �ให้ในบางครั้งไม่อาจปรับใช้กับการกระทำ �ใน ปัจจุบันได้เพราะมีการอ้างการดำ �เนินการเพื่อเป้าหมายทางการเมือง ๑๒ ภุชงค์ ประดิษฐ์ธีระ. “การเข้าเป็นภาคี UNCLOS 1982 ของไทย”, นาวิกศาสตร์. ปีที่ ๙๕ ฉบับที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕, หน้า ๒๒.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=