รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 102 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน ด้วยรูปแบบต่าง ๆ อื่นใดหรือใช้ความรุนแรงต่อบุคคลบนเรือ ในกรณีที่เป็นการกระทำ �ที่อาจก่อ ให้เกิดอันตรายต่อความปลอดภัยของการเดินเรือ [มาตรา ๓ (๑) (เอ), (บี)] อนุสัญญาฉบับนี้มิได้ วางเงื่อนไขเรื่องการกระทำ �ต่อเรือต้องเกิดขึ้นในทะเลหลวง ตลอดจนในเขตเศรษฐกิจจำ �เพาะซึ่งอยู่ ในระบบกฎหมายของทะเลหลวงด้านการเดินเรือ หรือเรื่องที่ต้องเป็นการโจมตีเรืออีกลำ �หนึ่ง โดย อนุสัญญาใช้กับเรือซึ่งเดินเรือหรือมีแผนที่จะเดินเรือผ่านหรือเข้าไปในหรือจากน่านน้ำ �นอกทะเล อาณาเขตของรัฐหนึ่งหรือรัฐที่อยู่ประชิดกัน (มาตรา ๔) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อนุสัญญาฯ ปรับใช้ตราบเท่าที่เรือไม่แล่นอยู่เฉพาะในทะเลอาณาเขตของรัฐหนึ่งรัฐเดียว นอกจากนี้อนุสัญญาฯ ยังไม่ระบุเรื่องวัตถุประสงค์ของการกระทำ �ไว้ อย่างไรก็ตามอนุสัญญาฯ มิได้อนุญาตให้มีการขึ้น ตรวจเยี่ยมเรือในทะเลหลวงและจับตัวผู้กระทำ �ผิดโดยปราศจากความยินยอมของรัฐเจ้าของธงเรือ โดยใช้ได้เฉพาะเมื่อผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำ �ผิดปรากฏตัวอยู่ในดินแดนหรือในทะเลอาณาเขตของรัฐ ภาคีของอนุสัญญาเท่านั้น (มาตรา ๗-๙) โดยมีหน้าที่ต้องดำ �เนินคดีหรือมิฉะนั้นก็ต้องส่งผู้ร้ายข้าม แดนไปให้รัฐอื่นที่ร้องขอซึ่งมีเขตอำ �นาจเหนือตัวผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำ �ผิดนั้น (มาตรา ๖, ๑๐) อย่างไรก็ตาม อนุสัญญาฯ ยังมีข้อจำ �กัดในลักษณะที่ไม่สามารถใช้ได้ในกรณีการกระทำ � ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกิดขึ้นกับเรือรบ รวมทั้งเรือของรัฐที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสนับสนุนการ ดำ �เนินการของกองทัพเรือ ศุลกากร หรือตำ �รวจ นอกจากนี้ พิธีสารต่อท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการกระทำ �ผิดกฎหมายต่อความ ปลอดภัยในการเดินเรือในทะเล (SUA Protocol) ค.ศ. ๒๐๐๕ ได้ขยายรายการของฐานความผิด ของอนุสัญญาให้กว้างขึ้นโดยให้รวมถึงการก่อการร้ายทางทะเล เช่น การใช้เรือเป็นวิธีการในการ โจมตีเพื่อก่อการร้าย (มาตรา ๓) และการขนส่งทางทะเลอันเกี่ยวข้องกับบุคคลที่กระทำ �ความผิด ในรายการของอนุสัญญาหรือความผิดอื่นในสนธิสัญญาต่าง ๆ ของสหประชาชาติเกี่ยวกับการต่อ ต้านการก่อการร้าย [มาตรา ๓ ตรี, ๓ ทวิ (๑) (บี) (i)] ให้ถือเป็นความผิดทางอาญา กรณีการขนส่ง ระเบิดหรือวัสดุกัมมันตรังสีไว้บนเรือ โดยล่วงรู้ว่ามุ่งจะนำ �ไปใช้ก่อให้เกิดหรือคุกคามที่จะก่อให้เกิด ความตายหรือความเสียหายอย่างร้ายแรงโดยมีวัตถุประสงค์ทำ �ให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือ บังคับให้รัฐบาลหรือองค์การระหว่างประเทศทำ �หรืองดเว้นจากการกระทำ �ใด ๆ โดยมาตรา ๓ จตุ กำ �หนดชุดของความรับผิดทางอาญาสำ �หรับความผิดต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการพยายามและการเข้าร่วมใน ฐานะผู้สมรู้ร่วมคิดและอื่น ๆ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=