รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 101 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ประการที่ ๒ ข้อกำ �หนดในมาตรา ๑๐๑ (๑) (เอ) ที่ระบุให้เรือลำ �หนึ่งกระทำ �การต่อเรืออีก ลำ �หนึ่งทำ �ให้การกระทำ �การเป็นโจรสลัดต้องประกอบด้วยยานพาหนะตั้งแต่ ๒ ลำ �ขึ้นไป ๘ ทำ �ให้ การก่อกบฏเข้ายึดเรือหรือการก่อจราจลบนเรือไม่เข้าองค์ประกอบของการกระทำ �การเป็นโจรสลัด ดังนั้น อำ �นาจในการดำ �เนินคดีจึงตกอยู่ภายใต้เขตอำ �นาจของรัฐที่มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น โดยรัฐอื่น ไม่สามารถดำ �เนินการได้ ประการที่ ๓ พื้นที่ซึ่งเกิดการกระทำ �ผิดต้องเกิดขึ้นในทะเลหลวงหรือนอกเขตอำ �นาจของรัฐ ใดรัฐหนึ่ง เพื่อมิให้การใช้เขตอำ �นาจสากลของรัฐไปแทรกแซงอำ �นาจอธิปไตยของรัฐอื่น ซึ่งทำ �ให้ไม่ อาจปรับใช้กับกรณีโจรสลัดในปัจจุบันได้เพราะมักเกิดขึ้นในบริเวณทะเลอาณาเขตของรัฐชายฝั่งที่ ขาดความสามารถในการปราบปรามโจรสลัดอย่างมีประสิทธิภาพ ๙ ดังเช่นกรณีโจรสลัดโซมาเลียใน ช่องแคบมะละกา หรือการปล้นเรือสินค้า Penang Glory ในทะเลอาณาเขตของอินโดนีเซีย รวมทั้ง การปล้นเรือบรรทุกก๊าซ Sun Gas ในทะเลอาณาเขตของมาเลเซีย ๑๐ ๑.๒ ความพยายามในการแก้ไขปัญหา ความพยายามในการแก้ไขปัญหาอาจแบ่งออกได้ ๒ ระดับทั้งในระดับระหว่างประเทศและ ระดับภายในประเทศดังต่อไปนี้ ๑.๒.๑ ความพยายามในการแก้ไขปัญหาในระดับระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่อง ความปลอดภัยในการเดินเรือทางทะเลจึงมีความพยายามในการวางกฎเกณฑ์ให้ชัดเจนและ ครอบคลุมการกระทำ �ผิดต่าง ๆ ยิ่งขึ้น ระบบการปราบปรามโจรสลัดในอนุสัญญาฯ ได้ถูกเพิ่มเติมให้ สมบูรณ์ขึ้นโดยสนธิสัญญาต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้ทะเลและที่มิได้เกี่ยวข้องโดยตรงแต่ เน้นการปราบปรามการกระทำ �ผิดซึ่งรวมโจรสลัดไว้ด้วย กล่าวคือ อนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการกระทำ �ผิดกฎหมายต่อความปลอดภัยในการเดินเรือ ในทะเลหรือเอสยูเอ (Convention for the Suppression of Unlawful Acts Against the Safety of Maritime Navigation–SUA) ค.ศ. ๑๙๘๘ ๑๑ ซึ่งครอบคลุมอาชญากรรมที่เกี่ยวข้อง กับการกระทำ �การเป็นโจรสลัดด้วย เช่น การยึดหรือใช้อำ �นาจควบคุมเรือโดยการใช้กำ �ลังหรือคุกคาม ๘ Robin Geib and Anna Petrig. Piracy and Armed Robbery at Sea . Oxford University Press, 2011, p. 62 ๙ Advisory Council on International Affairs. Combating Piracy at Sea: A Reassessment of Public and Private Responsibilities. No. 72, Advisory Council on International Affairs. December 2010, p. 15. ๑๐ อนิรัตน์ จินดา. ปัญหากฎหมายและความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธในช่องแคบ มะละกา , วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๑, น. ๕๗. ๑๑ Yoshifumi Tanaka. op.cit ., pp. 361-364.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=