รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 100 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน ๑) เป็นการกระทำ �อันมิชอบด้วยกฎหมายโดยการใช้กำ �ลัง การกักขังหรือการกระทำ �ใดอัน เป็นการปล้นสดมภ์ ๒) เป็นการกระทำ �ในทะเลหลวงหรือในที่ซึ่งอยู่ภายนอกเขตอำ �นาจของรัฐหนึ่งรัฐใด ๓) เป็นการกระทำ �ระหว่างเรือ ๒ ลำ � กล่าวคือ ระหว่างเรือโจรสลัดซึ่งกระทำ �ต่อเรืออีกลำ � หนึ่งและเป็นการกระทำ �เพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยอนุสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๖๖ ส่วนอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๘๒ ได้บัญญัติเกี่ยวกับนิยามของโจรสลัดไว้ในมาตรา ๑๐๑ ซึ่งไม่มี ความแตกต่างกับอนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๕๘ เพราะเป็นการทำ �ประมวลกฎหมายในเรื่องนี้ โดยมีแต่การ กำ �หนดเพิ่มเติมให้ชัดเจนว่า ให้ถือว่าการกระทำ �ในเขตเศรษฐกิจจำ �เพาะ (ซึ่งเป็นเขตทางทะเลซึ่งเกิด ขึ้นใหม่ตามอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๘๒ แต่ในแง่การเดินเรือแล้วอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกันกับ ทะเลหลวง) เป็นการกระทำ �อันเป็นโจรสลัดเช่นกัน ๕ องค์ประกอบเหล่านี้ตามนิยามที่กล่าวมาทำ �ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติสำ �หรับการบังคับใช้ กฎหมายเพื่อปราบปรามโจรสลัด ๖ ซึ่งสมควรวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขตามลำ �ดับต่อไปนี้ ประการแรก วัตถุประสงค์ส่วนตัว ก่อให้เกิดปัญหาในกรณีการอ้างวัตถุประสงค์ทางการเมือง เช่น การที่โจรสลัดโซมาเลียต่อสู้ว่าเป็นการกระทำ �เพื่อปกป้องทะเลอาณาเขตและเขตเศรษฐกิจ จำ �เพาะจากการทำ �ประมงและการเททิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐอื่น ๆ ๗ หรือกรณีเรือ Achille Lauro ที่กลุ่มสมาชิกปลดปล่อยปาเลสไตน์ซึ่งเป็นผู้โดยสารในเรือได้เข้ายึดเรือสัญชาติอิตาลีลำ �นี้เพื่อ เรียกร้องให้อิสราเอลปล่อยตัวชาวปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลคุมขัง หรือกรณีเรือ The Labrea สัญชาติ โบลิเวียซึ่งกบฏชาวบราซิลยึดไว้ จากความขัดแย้งระหว่างบราซิลกับโบลิเวีย ซึ่งเรือของโบลิเวียได้ทำ � ประกันภัยกรณีโจรสลัดไว้กับบริษัทประกันภัยของอังกฤษและยื่นฟ้องบริษัทผู้รับประกันภัยต่อศาล อังกฤษ ซึ่งชี้ขาดว่าการกระทำ �การเป็นโจรสลัดต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัวเท่านั้นมิใช่เพื่อ ส่วนรวม ตัวอย่างของคดีเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยากในการประเมินเพราะอาจมีการ คาบเกี่ยวกันของวัตถุประสงค์เหล่านี้ ๕ Yoshifumi Tanaka. The International Law of the Sea . Cambridge University Press: Cambridge, 2012, pp. 354-357. ๖ Efthymios Papastavridis. The Interception of Vessels on the High Seas. Contemporary Challenges to the Legal Order of the Oceans, Hart Publishing, Oxford and Portland: Oregon, 2013, pp. 163-166. ๗ Omer Elagab. “Somali Piracy and International Law: Some Aspects”. Vol. 24, No. 2, Australian & New Zealand and Maritime Law Journal. 2010, pp. 60-61

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=