รวมเล่ม
.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 99 จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ๑. ปัญหาจากเงื่อนไขและข้อจำ �กัดของนิยามและแนวทางในการแก้ไข กฎหมายได้นิยามการกระทำ �การเป็นโจรสลัดไว้ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการ ปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงควรวิเคราะห์ก่อนที่จะพิจารณาแนวทางในการแก้ไขตามลำ �ดับ ๑.๑ ปัญหาเกี่ยวกับนิยามของการกระทำ �การเป็นโจรสลัด การปราบปรามโจรสลัดถูกกำ �หนดขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในมาตรา ๑๔-๒๑ ของอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ. ๑๙๕๘ ว่าด้วยทะเลหลวง และถูกยืนยันไว้อีกในอนุสัญญาสหประชา- ชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea–UNCLOS) ค.ศ. ๑๙๘๒ ในมาตรา ๑๐๐-๑๐๗ มาตรา ๑๐๑ ของ UNCLOS นิยามการกระทำ �การเป็นโจรสลัด โดยมาตรา ๑๐๐ กำ �หนด หน้าที่สำ �หรับรัฐทั้งปวงที่จะร่วมมือในขอบเขตที่กว้างขวางที่สุดในการลงโทษโจรสลัดในทะเลหลวง หรือในสถานที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือบริเวณที่อยู่ภายใต้เขตอำ �นาจของรัฐ ในขณะที่มาตรา ๑๐๕ อนุญาตเป็นการเฉพาะให้รัฐทั้งหลายยึดเรือหรืออากาศยานของโจรสลัด หรือเรือ หรืออากาศยาน ที่ถูกยึดมาโดยโจรสลัดและอยู่ภายใต้การควบคุมของโจรสลัด และจับกุมบุคคลและยึดทรัพย์สิน บนยานเหล่านั้น ที่พบอยู่ในทะเลหลวงหรือสถานที่อื่นใดนอกเขตอำ �นาจของรัฐใด นอกจากนี้ ศาล ของรัฐที่ดำ �เนินการยึดเรืออาจกำ �หนดโทษปรับและกำ �หนดมาตรการสำ �หรับเรือ อากาศยาน และ ทรัพย์สิน มาตรา ๑๑๐ ของอนุสัญญาฯ ระบุข้อยกเว้นต่าง ๆ ของหลักการเรื่องเขตอำ �นาจจำ �เพาะ ของรัฐเจ้าของสัญชาติเรือเหนือเรือของตนในทะเลหลวงและอนุญาตให้เรือรบขึ้นตรวจเรือต่างชาติใน ทะเลหลวงเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเรือดังกล่าวกระทำ �การเป็นโจรสลัด อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าการกระทำ �ใดเข้าข่ายความผิดฐานโจรสลัดมีข้อจำ �กัดทำ �ให้มี ปัญหาในการนำ �มาปรับใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน กล่าวคือ นิยามการกระทำ �การเป็นโจรสลัดตาม ความเห็นของนักนิติศาสตร์และตามกฎหมายภายในของรัฐต่าง ๆ จะสอดคล้องกันคือ เป็นการ กระทำ �ด้วยความรุนแรงใด ๆ โดยมิชอบด้วยกฎหมายระหว่างเรือลำ �หนึ่งซึ่งกระทำ �ต่อเรืออีกลำ �หนึ่ง ในทะเลหลวง ซึ่งคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศได้ใช้เป็นแนวทางในการร่างอนุสัญญา กรุงเจนีวาว่าด้วยทะเลหลวง ค.ศ. ๑๙๕๘ ซึ่งต่อมาได้ถูกนำ �มาบัญญัติไว้ในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำ �อันเป็นโจรสลัด กล่าวคือในมาตรา ๑๔-๒๒ ของอนุสัญญาฯ ค.ศ. ๑๙๕๘ นิยามการกระทำ �ไว้ซึ่งอาจสรุปองค์ประกอบได้ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=