รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 98 การปราบปรามโจรสลัด : ปัญหากฎหมายและแนวทางแก้ไขในปัจจุบัน เพื่อการนำ �เข้าและส่งออกสินค้ามากกว่าการขนส่งทางอื่นเนื่องจากมีต้นทุนการขนส่งถูกกว่า ๓ ในปัจจุบันการกระทำ �การเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือยังมีแนวโน้มสูงขึ้นนับจาก ค.ศ. ๒๐๐๐ กล่าว คือ จากสถิติ ค.ศ. ๒๐๑๑ มีจำ �นวนมากกว่า ๕๐๐ ครั้ง มูลค่าความเสียหายสูงถึงราวกว่า ๓๖๐,๐๐๐ ล้านบาท ๔ อย่างไรก็ตาม การกระทำ �ผิดในปัจจุบันมีลักษณะที่รุนแรงและแตกต่างกับในอดีต โดยมีการ ใช้อุปกรณ์ทันสมัยและอาวุธร้ายแรง อีกทั้งมีการใช้เรือเล็กที่มีความเร็วสูงเข้าโจมตีเรือสินค้าและเรือ โดยสารซึ่งมิได้แล่นอยู่เฉพาะในทะเลหลวงเท่านั้นแต่อยู่ในบริเวณทะเลอาณาเขตของรัฐชายฝั่งด้วย และในบางครั้งยังอ้างวัตถุประสงค์ทางการเมือง แต่มิใช่เพื่อมุ่งประสงค์ทรัพย์สินบนเรือ อันทำ �ให้มี ปัญหาในทางปฏิบัติว่าเป็นการกระทำ �การเป็นโจรสลัดตามความหมายดั้งเดิมของกฎหมายระหว่าง ประเทศหรือไม่ ดังนั้นจึงต้องอาศัยการพัฒนาปรับปรุงทั้งกฎหมายและมาตรการในการปราบปราม ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในเชิงนิติศาสตร์แล้ว การกระทำ �การเป็นโจรสลัดเป็นการกระทำ �ความผิดที่มีลักษณะ ระหว่างประเทศในตัวเองเพราะโดยหลักการแล้วเกิดขึ้นในทะเลหลวงซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ซึ่งอยู่นอก เขตอำ �นาจของรัฐใดรัฐหนึ่ง ดังนั้น กฎหมายระหว่างประเทศจึงให้สิทธิแก่รัฐทั้งปวงที่จะดำ �เนินการ ปราบปรามได้ตามหลักเขตอำ �นาจสากล (Universal Jurisdiction) ของรัฐโดยไม่จำ �กัดเขตอำ �นาจ ไว้เฉพาะสำ �หรับรัฐที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเท่านั้น เช่น รัฐสัญชาติของผู้กระทำ �ผิดหรือรัฐสัญชาติ ของผู้เสียหาย ซึ่งอาจมีหลายรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องได้ เช่น รัฐสัญชาติของเรือ รัฐสัญชาติของลูกเรือ ฯลฯ เพราะฉะนั้นการจัดการและแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องอาศัยการพัฒนากฎหมายทั้งใน ระดับระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ การศึกษาเรื่องการปราบปรามโจรสลัดในปัจจุบันจำ �ต้องเริ่มจากการพิจารณาปัญหา และวิเคราะห์สาเหตุหรือรากฐานของปัญหากฎหมาย แล้วจึงพิจารณาแนวทางแก้ไขต่อไป โดยอาจ แบ่งออกได้เป็นปัญหาจากเงื่อนไขและข้อจำ �กัดของนิยามทางกฎหมาย และปัญหาในการบังคับใช้ กฎหมายในทางปฏิบัติ ดังจะได้อธิบายตามลำ �ดับ ๓ ไผทชิต เอกจริยกร. “การพัฒนากฎหมายเพื่อส่งเสริมกองเรือพาณิชย์ไทยในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ”, บทความเสนอที่ประชุม ราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำ �นักธรรมศาสตร์และการเมือง, วันพุธที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๑-๒. ๔ ไกรวุฒิ จริยากาญจนา. “ปัญหาในการปราบปรามโจรสลัดภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๑.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=