รวมเล่ม

.................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๗ 5 ปิยนาถ บุนนาค โดยเฉพาะรายาเมืองปัตตานี สายบุรี และระแงะ ในที่สุดรายาทั้งสามก็ถูกรัฐบาลลงโทษด้วยการ ถอดยศและเนรเทศ เป็นผลให้รายาเมืองอื่น ๆ ต้องยอมปฏิบัติตามกฎข้อบังคับโดยดี อย่างไรก็ตาม เมื่อรายาผู้ถูกลงโทษยอมรับระบบการปกครองของไทย รัฐบาลก็ย่อมผ่อนปรนการลงโทษ และใน พ.ศ. ๒๔๔๙ รัฐบาลก็ได้ยุบบริเวณเจ็ดหัวเมืองเหลือเพียงสามเมือง คือ ปัตตานี ยะลา และบางนรา แล้วรวมกันเป็นมณฑลปัตตานี โดยมีข้าหลวงเทศาภิบาลประจำ �มณฑลคนแรกคือ พระยาศักดิ์เสนี (หนา บุนนาค) อดีตข้าหลวงใหญ่ประจำ �บริเวณเจ็ดหัวเมืองเดิม ๑๒ ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ รัฐบาลไทยก็ต้องยอมโอนอำ �นาจอธิปไตยเหนือรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และเกาะใกล้เคียงให้แก่อังกฤษเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ขณะเดียวกับที่อังกฤษยอมรับอำ �นาจอธิปไตยของไทยเหนือบริเวณตอนเหนือของพรมแดนไทย มาเลเซียปัจจุบัน ๑๓ ส่วนสตูลก็ถูกผนวกเข้าอยู่ในมณฑลภูเก็ตในเวลาต่อมา ในรัชกาลที่ ๖ รัฐบาลยังคงดำ �เนินนโยบายในการปกครองชาวไทยมุสลิมดังกล่าวสืบต่อจาก สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยเฉพาะการให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการทำ �นุบำ �รุงศาสนา ดังกระแส พระราชดำ �รัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อผู้แทนชาวไทยมุสลิมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ตอนหนึ่งว่า ๑๒ ดูรายละเอียดใน เตช บุนนาค, “พระยาแขกเจ็ดหัวเมืองคบคิดขบถ ร.ศ. ๑๒๑”, ใน วรรณไวทยากร ภาคประวัติศาสตร์. (พระนคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔), หน้า ๑๕-๓๙. ๑๓ สายจิตต์ เหมินทร์, การเสียรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสของไทยให้แก่อังกฤษในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๐๗, หน้า ๓๔๐- ๓๕๔ และ นันทวรรณ ภู่สว่าง, ปัญหาชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้, หน้า ๘-๙. ๑๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชดำ �รัสในพระบาสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (พระนคร : โรงพิมพ์บำ �รุงนุกูลกิจ, ๒๔๗๒), หน้า ๑๗๕. “ …อันอิสลามได้มาเห็นความจริง โดยแน่แท้แห่งพระบรม- ราโชบายของพระเจ้าแผ่นดินสยามตั้งแต่อดีตรัชกาลมาว่า ได้มีพระ ราชหฤทัยที่จะทะนุบำ �รุงชนไม่ว่าชาติใด ภาษาใดและศาสนาใด ที่ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแล้ว ย่อมทรงสงเคราะห์เสมอหน้ากัน หมด ตัวเราผู้เป็นรัชทายาทก็ได้ตั้งใจเช่นเดียวกันเสมอ ได้มีน้ำ �ใจ ไมตรีต่อชนอิสลามไม่ผิดกับชนในศาสนาอื่นบรรดาที่มาอาศัยอยู่ใน แผ่นดินสยาม อิสลามศาสนิกจงเชื่อว่า เราตั้งใจกระทำ �กรณียกิจใน หน้าที่ ผู้อุปถัมภ์เต็มความสามารถของเราให้แก่ท่านทั้งหลายได้รับ ความร่มเย็นเป็นสุขเช่นที่ท่านได้เคยรับมาแล้ว…” ๑๔

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=