ปี-39-ฉบับที่-3

85 วิรุณ ตั้ งเจริ ญ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิรูปทางด้านการศึกษา ลัทธิสมัยใหม่ ศิลปะสมัยใหม่เติบโตแพร่หลายไปทั่ว เป็นกระแสที่แพร่ระบาดไปทั่วยุโรป มากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป ศิลปินน้อยใหญ่ สถาบันการศึกษา ทางศิลปะได้ร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงอย่างถ้วนหน้า พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สถานแสดงผลงานศิลปะ แกลเลอรีศิลปะ จัดนิทรรศการศิลปะกันทั่วไป แต่ละแห่งย่อมมีศิลปินชั้นแนวหน้าหรือศิลปินที่อยู่ใน กระแส มากหรือน้อยแตกต่างกันออกไป ผู้อุปถัมภ์และผู้ชื่นชมศิลปะในแต่ละพื้นที่ก็ย่อมชื่นชมศิลปะสมัย ใหม่ ศึกษาศิลปะสมัยใหม่ หรือต่อต้านศิลปะสมัยใหม่ อย่างเป็นธรรมดาโลก ศิลปะสมัยใหม่ในช่วงรอยต่อ ช่วงการปรับเปลี่ยน ย่อมท้าทายการชื่นชม ท้าทายการวิพากษ์วิจารณ์ และท้าทายต่อการที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ศิลปะสมัยใหม่ด้วยเช่นกัน ศิลปะสมัยใหม่ลัทธิคลาสสิกใหม่ (neo-classicism) ศิลปะจินตนิยม (romanticism) ศิลปะสัจนิยม (realism) ศิลปะลัทธิประทับใจ (impressionism) ศิลปะลัทธิประทับใจใหม่ (neo-impressionism) ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง (post-impressionism) แล้วก็พัฒนามาสู่ศิลปะลัทธิแสดงพลังอารมณ์ “expressionism” หรือนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ศิลป์บางส� ำนักก็เรียกว่า ศิลปะลัทธิแสดง พลังอารมณ์เยอรมัน “German expressionism” ในเยอรมนี และศิลปะคติโฟวิสต์ “fauvism” ในฝรั่งเศส ช่วงรอยต่อคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ และต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึก ไว้ในพระราชหัตถเลขาไกลบ้านนั้น ได้ทรงบันทึกวิพากษ์วิจารณ์ศิลปะสมัยใหม่ไว้อย่างแสบ ๆ คัน ๆ เมื่อประทับอยู่ในเยอรมนี จริงอยู่ในห้วงเวลาดังกล่าว ศิลปะสมัยใหม่ลัทธิต่าง ๆ ก่อนหน้านั้นก็ยังคง ส� ำแดงบทบาทอยู่ ไม่ว่าจะเป็น realism, impressionism, neo-impressionism, post-impressionism หรือศิลปะลัทธิใหม่ ๆ หลังจากช่วงเวลานั้นก็เริ่มแสดงบทบาทขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นศิลปะบาศกนิยม (cubism) ในฝรั่งเศส ศิลปะอนาคตนิยม (futurism) ในอิตาลี ศิลปะลัทธิรูปทรงแนวใหม่ (neo-plasticism) ในเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น เมื่อได้พินิจพิจารณาพระราชหัตถเลขาในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ช่วงที่เสด็จประพาสอยู่ใน เยอรมนี ตามที่พระองค์ได้ทรงวิพากษ์วิจารณ์ไว้อย่างเป็นรูปธรรมนั้น น่าจะเป็นการที่พระองค์ได้ทรง เยี่ยมชมศิลปะแนว “German expressionism” ของศิลปินเยอรมันเป็นประการส� ำคัญ และอาจมีศิลปะแนว “fauvism” ตามสมควร รวมทั้งการที่พระองค์ได้เสด็จฯ ต่อไปยังอังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปด้วยเช่นกัน ศิลปะลัทธิแสดงพลังอารมณ์เยอรมัน (German expressionism) มุ่งเน้นการแสดงออกทางศิลปะ ที่แสดงออกจากอารมณ์ความรู้สึกภายในที่ปะทะต่อสังคม สภาพแวดล้อม ผู้คน แสดงออกด้วยสีสัน ริ้วรอย พู่กันที่เข้มแข็งรุนแรง แสดงออกหรือระบายสีอย่างฉับไว ทันทีทันใด ไม่ว่าจะเป็นภาพคนหรือภาพทิวทัศน์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=