ปี-39-ฉบับที่-3
พระบาทสมเด็ จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หั วและศิ ลปะสมั ยใหม่ 78 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 การเสด็จประพาสยุโรป ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ถึง ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ เสด็จฯ ไปยังคลองเอเดน สุเอซ อิสไมล์เลีย ปอตไซค์ เวนิส อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ เจนีวา เซนต์ปีเตอร์ โรม ออสเตรีย รัสเซีย เดนมาร์ก อังกฤษ เบลเยี่ยม เยอรมนี ฮอลแลนด์ สเปน โปรตุเกส มอนติคาโล เนเปิล อียิปต์ และการเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกนี้ พระองค์ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์คู่กับ พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ ๒ แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ประเทศรัสเซีย ซึ่งเท่ากับเป็นการที่พระองค์ทรงตัดไม้ ข่มนามนักล่าอาณานิคมตะวันตกไปพร้อมกัน การเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ถึง ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐ เสด็จประพาสสิงคโปร์ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และ นอร์เวย์ ระหว่างเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ นี้ พระราชทานพระราชหัตถเลขาถึง “สมเด็จหญิงน้อย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ผู้ซึ่งสนองพระเดชพระคุณสมเด็จ พระบรมชนกนาถ ในต� ำแหน่งเลขาธิการฝ่ายใน รวม ๔๓ ฉบับ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพจัดพิมพ์เป็น “พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน” พุทธศักราช ๒๔๕๐ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน ฉบับที่ ๑๙-๓๔ ช่วงที่เสด็จ ประพาสเยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ พร้อมทั้งแปลเป็นภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ ตามภาษา และประเทศที่เสด็จประพาส ซึ่งพระราชนิพนธ์ไกลบ้านทั้ง ๑๖ ฉบับนั้นได้สะท้อนให้เห็นพระปรีชา สามารถในการที่ทรงศึกษาแสวงหาประสบการณ์ ทั้งด้านสภาพแวดล้อมของบ้านเมือง สังคม เศรษฐกิจ และการด� ำรงชีวิตของผู้คน โดยพร้อมที่จะทรงปรับประยุกต์สิ่งที่พระองค์ทรงพบเห็น อันน� ำมาสู่การพัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองวัฒนาสถาพรสู่การเป็นอารยประเทศให้จงได้ กล่าวเฉพาะทางด้านศิลปวัฒนธรรมและศิลปกรรม นอกจากพระปรีชาสามารถที่ทรงใช้ภาษา ไทยอย่างงดงาม คมชัด ตรงไปตรงมา ในพระราชหัตถเลขาไกลบ้านแล้ว พระราชหัตถเลขาของพระองค์ ได้สะท้อนให้เห็นพระราชวิสัยทัศน์และพระราชนิยมอันสูงส่งประณีตงดงามทางด้านศิลปกรรม พระองค์ ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรศิลปะการแสดง ดนตรี นิทรรศการศิลปะ ศิลปะภาพถ่าย มากมายหลายครั้ง ด้วยความโสมนัสยิ่งนัก และทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรนั้น ทรงบันทึกวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์อย่าง ตรงไปตรงมา บนบริบทศิลปวัฒนธรรมประเพณี บนพื้นฐานสังคม และความเป็นจริงของสังคมไทยในช่วง เวลานั้น ความเป็นจริงที่แตกต่างกันมากมายระหว่างสังคมตะวันตกกับสังคมไทย ทรงวิเคราะห์เปรียบเทียบ ศิลปะการแสดงตะวันตกกับไทยอย่างมีประเด็นยิ่ง ด้วยความที่พระองค์ใฝ่พระราชหฤทัยในการศึกษากับ ครูฝรั่งตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ทั้งด้านภาษา วัฒนธรรมประเพณี ศิลปกรรม และเรื่องราวต่าง ๆ ของ ชาวตะวันตก ท� ำให้พระบรมราชวินิจฉัยวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์เรื่องต่าง ๆ ตรงไปตรงมาและแหลมคมนัก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=