ปี-39-ฉบับที่-3

77 วิรุณ ตั้ งเจริ ญ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ท่ามกลางการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่สืบทอดมายาวนาน ในห้วงเวลาดังกล่าว ย่อมเป็นคุณยิ่งแก่การปฏิรูป และการที่ต้องตัดสินพระราชหฤทัยในการปรับรื้อสังคมไทย สังคมไทย ที่นับวันจะมีความซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกขณะ นอกจากนั้นแล้วพระองค์ยังได้ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการ แผ่นดินและทรงเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “เคาน์ซิลออฟสเตด” (Council of State) ตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาล เชื่อได้ว่าสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินซึ่งเป็นต้นทางของพฤฒิสภา เป็นคณะบุคคลที่ทรงคุณแก่การปฏิรูป สังคมไทยในรัชกาลของพระองค์ด้วย การปฏิรูปบ้านเมืองที่พลิกจากสังคมไทยในอดีตมาสู่สังคมไทยที่ก้าวหน้าสอดผสานกับ อารยประเทศ นับเป็นคุณมหาศาลแก่สังคมไทยสืบมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบการ บริหารราชการแผ่นดิน การท� ำนุบ� ำรุงบวรพุทธศาสนา การพัฒนาวัฒธรรมประเพณีนิยมให้ทันสมัย การที่ทรงประกาศเลิกทาสและไพร่ในสังคมไทย การพัฒนากองทัพไทยอย่างตะวันตก การพัฒนาระบบ การศึกษาอย่างสากล การให้ก� ำเนิดโรงเรียนหลวง และโรงเรียนเพื่อทวยราษฎร์ การสร้างหลักสูตรที่ ทันสมัย การพัฒนาเศรษฐกิจ สินค้าไทยที่ส่งออกสู่ตลาดโลก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการด� ำรง ชีวิตและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การคมนาคม การสร้างถนน การขุดคลอง การชลประทาน การสร้างเขื่อน การสร้างทางรถไฟ ระบบรถไฟ รถราง รถยนต์ การสื่อสาร ไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ ถนนสาย หลักมากมายในพระนคร สะพานที่สวยงามมากมาย การจัดการทางด้านสาธารณูปโภค ระบบสุขาภิบาล การประปา โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ การปฏิรูปทางด้านการรักษาความปลอดภัย การขยายงานของต� ำรวจ การจัดการทางด้านสาธารณสุข การน� ำวิทยาการทางด้านการแพทย์แผนใหม่ เข้ าสู่สังคมไทย การจัดตั้งสถานพยาบาลและองค์กรรับผิดชอบสุขภาพอนามัยของประชาชน การพัฒนาการจัดเก็บภาษีอากรเป็นรายได้แผ่นดิน การพัฒนาการศาลและกฎหมายให้เป็นสากล และ การปฏิรูปหรือการยกเครื่องอีกมากมายหลายอย่าง การที่พระองค์เสด็จประพาสต้นและเสด็จประพาสหัวเมืองเพื่อทรงศึกษาและทรงสัมผัสชีวิต ประชาชนชาวไทยรากหญ้า ชาวไร่ชาวนาที่เป็นรากฐานส� ำคัญยิ่งของสังคมไทย ย่อมส่งผลต่อพระบรมราช- วินิจฉัยในการพัฒนาบ้านเมืองไทยโดยแท้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทรงศึกษา เปรียบเทียบและทรงก� ำหนดพระราชวิสัยทัศน์ของพระองค์ในการพัฒนาประเทศ โดยเสด็จประพาส สิงคโปร์ ปัตตาเวีย สมารังหรือชวา เป็นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๓ เป็นเวลา ๔๗ วัน ปีถัดมาเสด็จ ประพาสพม่าและอินเดียเป็นเวลา ๓ เดือน เพื่อศึกษาพม่าและอินเดียในฐานะที่เป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=