ปี-39-ฉบับที่-3
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และศิลปะสมัยใหม่ * วิรุณ ตั้งเจริญ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสายพระเนตรอันกว้างไกล ทรงสถาปนา สังคมสมัยใหม่ให้กับสังคมไทย และทรงขับเคลื่อนไทยภิวัตน์จากสังคมเก่ามาสู่สังคมใหม่อย่างมี ความหมายยิ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประชาชนแซ่ซ้องสรรเสริญถวาย พระราชสมัญญาว่า “พระปิยมหาราช” พระองค์ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อครั้งยังทรงด� ำรง พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ และทรงผนวชเป็นพระภิกษุระหว่าง ทรงครองราชย์เป็นพระองค์แรกอีกด้วย พระองค์ทรงครองราชย์ยาวนาน ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๑๑ ถึงพุทธศักราช ๒๔๕๓ ตลอดห้วงเวลายาวนานนั้นทรงปฏิรูปสังคมไทยอย่างอเนกอนันต์ยิ่ง บทคัดย่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปสังคมไทยในทุกด้าน พระองค์ เสด็จประพาสยุโรป ๒ ครั้ง ครั้งแรกเสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านเมื่อ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ถึง ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ครั้งที่ ๒ เมื่อ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ถึง ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐ เสด็จประพาสอิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และนอร์เวย์ มีพระ ราชหัตถเลขา รวม ๔๓ ฉบับ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ จัดพิมพ์เป็น “พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน” ในพุทธศักราช ๒๔๕๐ นอกจากพระองค์จะทรงศึกษาทั้งด้าน สภาพแวดล้อมของบ้านเมือง สังคม เศรษฐกิจ และการด� ำรงชีวิตแล้ว ยังสนพระราชหฤทัยทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมและศิลปกรรม ดังเช่น ดนตรี ศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ เครื่องปั้นดินเผา และ ทรงบันทึกวิเคราะห์ศิลปะตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะสมัยใหม่ที่ขณะนั้นก� ำลังเฟื่องฟูอยู่ใน เยอรมนีและฝรั่งเศส และทรงวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา สะท้อนให้เห็นความแตกต่างกัน ระหว่างสังคมตะวันตกกับสังคมไทยอย่างน่าศึกษายิ่ง ค� ำส� ำคัญ : พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน, ศิลปะการแสดง, ทัศนศิลป์, ศิลปะสมัยใหม่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=