ปี-39-ฉบับที่-3
ประธานคณะบรรณาธิการแถลง ส� ำนักศิลปกรรมเป็นผู้รับผิดชอบจัดท� ำวารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๗ นี้ เนื่องจากส� ำนักศิลปกรรมประกอบไปด้วยราชบัณฑิตและ ภาคีสมาชิกที่มีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์สาขาต่าง ๆ วารสารฉบับนี้จึงลงพิมพ์บทความวิชาการ หลากหลายสาขา จ� ำนวน ๑๙ บท ประกอบด้วย บทความด้านภาษา ๒ บท คือ “ค� ำน� ำหน้าชื่อบุคคล-ค� ำน� ำหน้าค� ำนามย่อย” ของ ศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต ให้ความรู้เรื่องการใช้ค� ำน� ำหน้าชื่อและน� ำหน้า นาม ซึ่งมิใช่เพียงการใช้ภาษาที่ถูกต้อง แต่ต้องเหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมด้วย ส่วนบทความ “อักษรไท : มรดกทางวัฒนธรรมอันล�้ ำค่าและเครื่องมือสืบทอดพระพุทธศาสนาของคนไท” ของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมานเหมินท์ ราชบัณฑิต กล่าวถึงการใช้อักษรไทของเหล่าคนไท ในประเทศต่าง ๆ เพื่อบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา และพิธีกรรม อันเป็นการ รักษาและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมล�้ ำค่าสู่อนุชนรุ่นหลัง บทความด้านวรรณคดีมี ๕ บท บทความเรื่อง “ไตรภูมิกถากับอาเซียน” ของคุณหญิง กุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ ราชบัณฑิต ย�้ ำให้เห็นว่านอกจากไตรภูมิกถาเป็นวรรณคดีแห่งชาติไทยแล้ว คติไตรภูมิยังเป็นวัฒนธรรมร่วมของอาเซียนด้วย เช่นเดียวกับการรับนิทานปันหยีจากมลายูมา สร้างสรรค์เป็นวรรณคดีไทย ได้รับความนิยมอย่างสูง จึงมีผู้แต่งขึ้นใหม่หลายส� ำนวน บทความเรื่อง “ปันหยีมิสาหรัง : บทละครเรื่องอิเหนาอีกส� ำนวนหนึ่งของไทย” ของศาสตราจารย์ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก น� ำเสนอบทละครเรื่องอิเหนาส� ำนวนหายากที่ยังไม่มีผู้ใดศึกษามาก่อน “สุภาษิตศรีสวัสดิ์ : ค� ำสอนกุลบุตรผู้ศึกษาในส� ำนักสงฆ์” ของรองศาสตราจารย์โชษิตา มณีใส ภาคีสมาชิก น� ำเสนอหนังสือสุภาษิตที่เป็นทั้งค� ำสอนและบันทึกทางสังคมวัฒนธรรม บทความ “๑๐๐ ปี วรรณคดีสโมสร” ของศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ภาคีสมาชิก ให้ความรู้ เรื่องประวัติการก่อตั้ง ระเบียบการคัดเลือกหนังสือ และบทบาทส� ำคัญในการยกย่องเชิดชูวรรณคดี ชั้นยอดไว้เป็นแบบอย่าง โดยผู้เขียนศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิจึงเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นย� ำ นอกจากวรรณคดีไทยแล้ว มีบทความเกี่ยวกับวรรณคดีฝรั่งเศสเรื่อง “นวนิยายสะท้อนสังคมเรื่อง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=